วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการหนังสือสำรอง

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (1/07/2011)


บริการหนังสือสำรอง คือ เป็นบริการที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่อให้อาจารย์นำหนังสือที่ให้บริการของห้องสมุด นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ โดยนักศึกษาสามารถสืบค้นรายการหนังสือสำรองจากระบบสืบค้นข้อมูลของห้องสมุดได้จากชื่ออาจารย์ผู้สอน รายวิชาที่สอน หนังสือของห้องสมุดที่นำมาจัดเป็นบริการหนังสือสำรองจะมีระยะเวลาการยืม 3 วัน เพื่อให้มีการหมุนเวียนการใช้งานอย่างทั่วถึง
          นอกจากหนังสือสำรองจะเป็นหนังสือที่อาจารย์กำหนดให้นักศึกษาที่ลงทะเบียนในวิชาต่าง ๆ แล้ว ห้องสมุดยังได้นำหนังสือที่มีการใช้มาก หรือหนังสือที่น่าสนใจมาจัดทำเป็นหนังสือสำรองอีกด้วย เช่น หนังสือดี 100 ชื่อที่คนไทยควรอ่าน หนังสือชุด เช่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ ทไวไลท์ เป็นต้น ผู้สนใจสามารถรับบริการยืมได้ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืนหนังสือของห้องสมุดทุกแห่ง
ปรัชญาของหนังสือสำรอง
- เป็นบริการที่ส่งเสริมการเรียนการสอน
- มีการจัดให้บริการสารสนเทศสำหรับผู้ใช้เมื่อต้องการ
การให้บริการหนังสือสำรอง
- ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ โดยจำกัดระยะเเวลาในการยืม เพื่อจะได้นำทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้นไปหมุนเวียนให้บริการแก่ผู้ใช้คนอื่นอีกต่อไป และก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรสารสนเทศอย่างทั่วถึง อีกทั้งยังทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียมกัน
- จัดให้บริการที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการให้บริการ อีกทั้งเป็นบริการที่ให้บริการภายในห้องสมุดเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการให้บริการยืมนั้นจะให้บริการที่แผนกยืม-คืนตามปกติ และในการให้บริการยืมแต่ละครั้งมักจะจำกัดจำนวนเอกสารที่ให้ยืม

บริการหนังสือสำรองมีให้บริการยืมที่แผนกยืม-คืน

ความสำคัญของบริการหนังสือสำรอง
1.) มีบทบาทสนับสนุนการเรียนการสอน
2.) นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน
3.) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบรรณารักษ์และผู้สอน
4.) คุณภาพของการบริการ
   บริการหนังสือสำรอง เป็นบริการที่นิยมจัดทำขึ้นในห้องสมุดระดับอุดมศึกษา เนื่องจากมีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายวิชา มีผู้เรียนและผู้สอนเป็นจำนวนมาก ทำให้การเข้าถึงสารสนเทศในบางครั้งอาจล่าช้าและไม่ทั่วถึงผู้เรียนทุกคน จึงทำให้ห้องสมุดในระดับอุดมศึกษาได้จัดให้มีบริการนี้ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่อาจารย์ผู้สอนในการจัดการเรียนการสอน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่บรรณารักษ์และอาจารย์ผู้สอนอีกด้วย และบริการหนังสือสำรองก็อาจมีการจัดให้บริการในห้องสมุดโรงเรียนบางแห่ง อีกทั้งการจัดให้บริการหนังสือสำรองนี้ยังมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในแต่ละเทอมอีกด้วย เพื่อให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาและหลักสูตรการเรียนการสอนที่ผู้สอนได้กำหนดขึ้น 
ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้ยืม
- ทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุดและทรัพยากรสารสนเทศส่วนบุคคล
- ซีดี (CD) 
- ตัวอย่างแบบทดสอบ ข้อสอบ และความเรียง ทางห้องสมุดจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลหรือข้อสอบเก่าให้แก่ผู้เรียนทราบ เพื่อจะได้นำไปศึกษาต่อและนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียน
- ทรัพยากรสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาในเรื่องของลิขสิทธิ์ (Copy Right) ดังนั้นจึงต้องมีการสร้างระบบป้องกันการคัดลอกข้อมูลโดยผิดกฎหมาย
- ให้บริการรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว จากหนังสือหรือเว็บไซต์ให้แก่ผู้ใช้ได้
- เป็นบริการช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

กฎหมายลิขสิทธิ์

งานที่ต้องปฏิบัติในการให้บริการหนังสือสำรอง
1.) รับใบขอใช้บริการ รับเอกสาร
    - จัดทำสำเนาหรือสแกนเอกสาร
    -การจัดทำในรูปแบบเข้าเล่มหรืออาจจัดทำเป็นแฟ้มเอกสาร
    -จัดการจัดระเบียบเอกสาร หากมีการจัดทำเอกสารเป็นเล่มๆหรือมีการจัดทำเป็นหมวดหมู่ จะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศได้ง่ายขึ้น และการกำหนดหมายเลขอาจเรียงตามรายชื่อผู้สอน เรียงตามกระบวนวิชา หรือแบ่งตามหลักสูตรของผู้สอน
2.) การทำบัตรยืม
    - ต้องมีการกำหนดระยะเวลาและระเบียบในการยืม เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียมกัน
    - ให้บริการที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน
    - มีการจัดเก็บค่าปรับหากผู้ใช้ยืมหนังสือไปเกินเวลาที่กำหนด เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด
    - คืน ย้ายเอกสารเก็บ
    - สามารถแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ใช้ได้ ซึ่งเป็นทักษะที่บรรณารักษ์ที่ทำหน้าที่ให้บริการควรจะต้องมี เพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด
    - จัดเก็บสถิติทุกครั้ง เพื่อทราบจำนวนในการให้บริการแก่ผู้ใช้ อีกทั้งเป็นการสำรวจจำนวนผู้ที่ให้บริการหรือจำนวนบรรณารักษ์ที่ให้บริการว่ามีจำนวนเพียงพอแก่ผู้ใช้หรือไม่
    - มีการดูแลรักษาเอกสารให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ หากเอกสารที่ให้บริการเกิดความชำรุด เสียหายใดๆ บรรณารักษ์จะต้องรักษาซ่อมแซมหนังสือให้อยู่ในสภาพดีเป็นการยืดอายุการใช้งานของหนังสือและประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อหนังสือใหม่ของห้องสมุด เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ต่อไป
    - การรักษาความปลอดภัย เป็นหน้าที่ที่บรรณารักษ์ต้องป้องกันไม่ให้หนังสือที่ให้บริการในห้องสมุดหาย เพื่อจะได้มีไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้

บริการหนังสือสำรอง
การจัดเจ้าหน้าที่และคุณสมบัติ
1.) ปรับจำนวนผู้บริการตามจำนวนผู้ใช้ ไม่สามารถกำหนดได้อย่างแน่นอน
2.) มีทักษะในการสื่อสาร การประสานงาน การต่อรอง มีความยืดหยุ่น ต้องพยายามแก้ไขปัญหาของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม ไม่ทำให้ผู้ใช้เกิดความไม่พอใจหรือโกรธเคือง ต้องทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจในการให้บริการและปฏิบัติตามกฎของห้องสมุด
3.) บรรณารักษ์ต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์เป็นอย่างดี เพื่อป้องกันการคัดลอกข้อมูลจากเอกสารโดยเป็นการละเมิดซึ่งเป็นการกะทำที่ผิดกฎหมาย
แนวโน้มการบริการในอนาคต
1.) มีการให้บริการเอกสารในรูปแบบดิจิตอล (Digital) สามารถถ่ายโอนได้ และมีการแสดงรายการบน OPAC หรือจัดทำในรูปแบบรายการฉบับพิมพ์
2.) หากมีการจัดทำในรูปแบบออนไลน์หรือแบบอิเล็กทรอนิกส์ทำให้สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ที่ผู้ใช้ต้องการ
3.) มีการป้องกันสิทธิของผู้ใช้ และมีการจัดทำ Password protected ให้แก่ผู้ที่ใช้บริการ เป็นการป้องกันความเป้นส่วนตัวของผู้ใช้
4.) คณาจารย์สามารถเสนอเอกสารบนเว็บเพจของตนเองได้ เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงและเป็นการะบุเฉพาะเจาะจงของผู้สอนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลหรือเอกสารได้โดยง่ายและไม่ต้องมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เป็นการช่วยประยัดเวลาในการสืบค้นข้อมูลที่ต้องการ

การสืบค้นหรือยืมหนังสือบนฐานข้อมูล OPAC

แบบฟอร์มการยืมหนังสือสำรอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น