วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Library Trend

 เรื่อง :  Library Trend 
 
Library Trend ถือได้ว่าเป็นบริการสารสนเทศในรูปแบบใหม่ หรือเรียกได้ว่าเป็น New service ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 7 ประเภทดังต่อไปนี้
1) Could computing กล่าวคือ ในปัจจุบันการบริการของห้องสมุดทั้งหมดจะเปลี่ยนไปเป็นในรูปแบบ Could computing ซึ่งเป็นรูปแบบ On line เป็นกระบวนการที่ไม่รู้ว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นจะไปปรากฎอยู่ที่ไหนบนอินเทอร์เน็ต แต่รู้ว่ามีข้อมูลนั้นอยู่ หรืออาจเรียกได้ว่า ไม่ทราบที่ตั้งของข้อมูลที่จัดเก็บ ไม่รู้แหล่งที่ตั้งของ Server แต่มีอีกแนวคิดหนึ่งคือ เรียกว่า ที่ตั้ง,กลุ่มก้อน คือ เครื่องที่เป็น server มีตั้งกระจายอยู่ทั่วไปไม่ได้มีเพียง server เดียว ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จะตั้ง  server  ที่ไหนก็ได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่า server อยู่ที่ไหน เพราะมีอยู่ทั่วไปหรือมีอยู่ทั่วโลก
OCLC มีหลักการณ์คือ The World's Library Connected เป็นหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับห้องสมุดโดยจะทำให้ห้องสมุดแต่ละแห่งเชื่อมโยงเข้าหากันโดยใช้ชื่อ Cloud ILS และ Cloud OPAC ซึ่งห้องสมุดในปัจจุบันที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นไม่จำเป็นต้องไปซื้อ  Server OPAC หรือ Software เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณมาก แต่ควรจะเข้าร่วมหรือเช่าพื้นที่ใน OCLC เพราะสามารถเชื่อมต่อกับห้องสมุดอื่นได้อีกหลายแห่ง ทำให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานมากยิา่งขึ้น
Could computing แยกตามกลุ่มผู้ใช้
   - Could ระดับองค์กร เช่น Could library
   - Could ระดับบุคคล เช่น การให้บริการบนอินเทอร์เน็ต Gmail,Facebook,Meebo
   - Could ผสม เช่น หอสมุดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการใช้ Could ผสม
Could computing แยกตามการใช้บริการ
   - Public Could  เป็น Could ที่ใช้แบบสาธารณะ เช่น Facebook,Gmail
   - Private Could เป็น Could แบบส่วนตัว เช่น รูปแบบการใช้ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
   - Hybrid Could เป็นการรวมทั้งระดับองค์กรและระดับส่วนตัวเข้าไว้ด้วยกัน
Could computing แยกตามประเภทเทคโนโลยี
   - SaaS (Software as a Service) เช่น Googledoc
      www.zoho.com มีระบบงาน Business เช่น ระบบการเงิน คือ ต้องเสียเงินตามระบบการใช้งาน
      Docs.google.com เป็นบริการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการพิมพ์งาน เอ็กเซลล์ หรือการทำแบบสำรวจ 
   - IaaS (Infrestructure as a Service) 
   - PaaS (Platform as a Service)  
     เป็นรูปแบบที่จะต้องทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง (Access) ข้อมูลได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
2) Mobile Device การเข้าสู่  Mobile Device ควรจะต้องรู้จักกลุ่มผู้ใช้และรู้พฤติกรรมการใช้ของผู้ใช้อาจจะต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมการใช้ของผู้ใช้จาก truehits.net และจะต้องดูข้อมูลพฤติกรรมการใช้ Mobile ของผู้ใช้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและนำข้อมูลเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นความแตกต่างแล้วเลือกข้อมูลที่ใกล้กับความเป็นจริงมากที่สุดมาจัดบริการเพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
Mobile แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. Smart Phone เช่น Sum sung Java Debian เป็นกลุ่มที่มีระบบปฏิบัติการในมือถือ
2. Tablet เช่น Android
3. eReader เช่น ios iPad
4. Netbook เช่น Windows เป็นคอมที่ไร้สาย
แต่ iPad มีข้อด้อย คือ ไม่สามารถใช้ Flash ได้ ไม่สามารถโชว์ภาพใน Flash ได้  
3) Digital content & Plubishing (ebook,IR,Digital Library,OJS)  เกิดขึ้นเนื่องจากองคืกรในโลกนี้มีงบประมาณหรือเงินสนับสนุนลดน้อยลง ไม่สามารจ้างคนทำงานเพิ่มได้ ส่วนคนที่ทำงานอยู่แล้วก็ต้องทำงานหนักเพิ่มมากขึ้น หลายห้องสมุดไม่สามารถจะซื้อวารสารเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากงบประมาณที่มีอยู่นั้นค่อนข้างจำกัด จึงทำให้มีการสร้าง Content ขึ้นเองเพื่อใช้ภายในห้องสมุดซึ่งจัดทำโดยอาจารย์ในมหาวิทยาลัยโดยร่วมมือกันจัดทำบทความวิชาการในด้านต่างๆขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งความรู้ภายในห้องสมุด
กระบวนการขั้นตอนของการจัดทำ ebook
1. การได้มาของเนื้อหา 
2. กระบวนการผลิตและรูปแบบ
3. ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับและการเผยแพร่
    - ลิขสิทธิ์ของต้นฉบับ
    - ลิขสิทธิ์ของการเผยแพร่ 
รูปแบบของ ebook  
-  .doc
-  .pdf
-  Flip ebook
-  Flash Flip ebook สามารถโชว์ Flash บนเว็บได้
-  ePublishing สามารถใช้บน Smart Phone หรือ ipad ได้
- .ePub เป็นนามสกุลไฟล์ของเอกสาร เป็นมาตรฐานหรือนามสกุลไฟล์ใหม่ๆของเอกสาร
- Digital Multimedia Book ซึ่งหากคลิกที่รูปภาพ สามารถเปิดเป็น VDO ได้ หากคลิกที่รูปภาพอาจจะมีการเชื่อมโยงลิงค์กับรูปภาพ เช่น เกิดการเคลื่อนไหว หรือลิงค์ไปยัง VDO 
4) Crosswalk Metadata เป็นการผสมรวมกันระหว่าง metadata มากกว่า 1 รูปแบบ
ตัวอย่างรูปแบบของ Metadata แต่ละประเภท
-  Marc
-  MarcML เป็นเมตาดาตารูปแบบใหม่ จะไม่มี Subfild แต่จะเป็นรูปแบบของโปรแกรม จะไม่ใช้สัญลักษ์เป็นตัวคั่นแต่ละเขตข้อมูลแต่จะแทนสัญลักษณ์ด้วยคำ
-  Dublin Core
-  ISAD (g) เป็นระบบที่จัดทำจดหมายเหตุ Digital
-  CDWA เป็นระบบที่จัดทำเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์
-  RFD,OWL ใช้ทำ web 3.0 หรือ Semantic 
-  MODS,METS เป็นชุดเดียวกับ Dublin Core แต่มี element มากกว่า
-  PDF Metadata
-  DOC Metadata
-  Exif,XMP,IPTC เป็นมาตรฐานของภาพถ่ายดิจิทัล
5) Open Technology
-  Z39.5 เป็นยุคแรกของห้องสมุด ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ
ผ่าน Ils ห้องสมุดไม่จำเป็นต้อง Catalog เอง แต่โปรแกรมจะดูดข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือมาให้เองโดยอัตโนมัติ
-  Z39.88 เป็นโปรแกรมที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ช่วยในการให้ข้อมูลบรรณานุกรมและการอ้างอิงแหล่งที่มาของทรัพยากรสารสนเทศ 
- OAI-PMH หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า One Search คือ การค้นหาข้อมูลบนเว็บโดยแค่เพียงเปิดหน้าเว็บนั้นๆเพียงครั้งเดียวก็มีข้อมูลหรือลิงค์ต่างๆที่เกี่ยวข้องปรากฎให้ครบถ้วน โดยที่ไม่ต้องเปิดหน้าเว็บเพจหลายครั้ง และต้องมีการแจกแจงรายละเอียดว่าข้อมูลที่ได้หรือผลลัพธ์ที่ได้มานั้นได้มาจากแหล่งใดและใครเป็นผู้จัดทำบ้าง นอกจากนี้ ยังต้องสามารถเชื่อโยงไปยังลิงค์ของข้อมูลอื่นๆได้และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องอยู่ในรูปแบบ Visual ร่วมด้วย ไม่ใช่แค่ในรูปแบบ text เท่านั้น 
- Link Data เช่น Web 3.0 แบ่งออกเป็นดังนี้
1. Web 1.0 คือ ให้สิทธิคนใดคนหนึ่งดูแลเว็บไซด์ ผู้ใช้สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว
2. Web 2.0 คือ ผู้ใช้ทุกคนสามารถสร้างเว็บของตนเองได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3. Web 3.0 คือ Semantic  คือ หากค้นข้อมูลหรือพิมพ์คำถามลงในช่อง search หรือการป้อนคำค้นเป็นประโยคลงในช่องค้นหา จะปรากฎข้อมูลหรือคำตอบที่ต้องการขึ้นมาให้ ถือว่าเป็นเว็บเชิงความหมาย
-  Metadata
-  Bibliography
6) Data & Information Mining/ Visualization เวลาผู้ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องไม่มีแค่ text เท่านั้น จะต้องมีในรูปแบบสื่อประสมด้วยหรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งการค้นหาข้อมูลแต่ละครั้งจะต้องทำดังต่อไปนี้
1. Search
2. ทำการวิเคราะห์
3. แดงผลเป็นเส้นโยงความสัมพันธ์
7) Green Libary  เกิดขึ้นมาจากสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (Global warming) โดยมีการจัดทำโครงการหรือรณรงค์ให้ห้องสมุดจัดกิจกรรมต่างๆที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อนด้วย เช่น โครงการห้องสมุดสีเขียว เป็นต้น แบ่งออกเป็นดังนี้
-  Green Building
-  Green ICT 
ห้องสมุดสีเขียว
การปลูกต้นไม้ภายในบริเวณห้องสมุด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น