วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กฎหมายลิขสิทธิ์

เรื่อง : กฎหมายลิขสิทธิ์
   กฎหมายลิขสิทธิ์นั้นถือว่าเป็นกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดของสถาบันสารสนเทศเป็นอย่างมาก ในเรื่องของการสำเนาเอกสารหรือบทความจากสิ่งพิมพ์หรือทรัพยากรสารสนเทศประเภทอื่นๆ ซึ่งจะต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตจากผู้เป็นเจ้าของก่อนการสำเนา คัดลอกหรือดัดแปลงเอกสารต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ อีกทั้งเป็นการเคารพและให้เกียรติผู้เป็นเจ้าของผลงานสร้างสรรค์นั้นด้วย

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

กฎหมายลิขสิทธิ์ คือ เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้เมื่อ พ.ศ. 2537กำหนดงานที่ได้รับความคุ้มครอง อันได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภท วรรณกรรม นาฏกรรมศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด
งานด้านวรรณกรรมที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง ได้แก่ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ รวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การคุ้มครองงานสร้างสรรค์เหล่านี้จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อสร้างขึ้นโดยไม่มีขั้นตอนทางกฎหมายใดๆและไม่จำต้องมีการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนก่อน จึงหมายความว่า เมื่อท่านสร้างสรรค์งานหรือเขียนงานนิพนธ์ขึ้นชิ้นหนึ่ง กฎหมายให้ความคุ้มครองงานชิ้นนั้นทันที เจ้าของผลงานเท่านั้นมีสิทธิ์ในการเผยแพร่งานสู่สาธารณชน เว้นแต่ได้รับความยินยอมหรืออนุญาตจากเจ้าของ หากผู้ใดทำละเมิดนำงานไปเผยแพร่ คัดลอก ดัดแปลง ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด จักต้องรับโทษอาญาและชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งแก่ผู้สร้างสรรค์งานชิ้นนั้น
ขอบเขตคุ้มครองงานสร้างสรรค์

เมื่อสร้างสรรค์งานแล้วได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์ จึงต้องรับรู้สิทธิของผู้เป็นเจ้าของว่ามีขอบเขตคุ้มครองกว้างขวางมากเพียงใด โดยกฎหมายกำหนดสิทธิไว้ดังต่อไปนี้
  1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
  3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
  4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
  5. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้น โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้
เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียวมีอำนาจกระทำทั้ง 5 ข้อนี้ ผู้ใดที่ทำละเมิดสิทธิของเจ้าของงานซึ่งกฎหมายคุ้มครองไว้ จักต้องรับโทษอาญาและจ่ายค่าเสียหายทางแพ่งแก่เจ้าของงาน การคุ้มครองสิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ช่วยส่งเสริมให้คนไทยมีกำลังใจในการสร้างสรรค์งานใหม่ มิใช่การคัดลอก ดัดแปลง งานของผู้อื่น กฎหมายจึงกำหนดบทลงโทษหนักและค่าปรับที่สูงมาก ซึ่งไม่คุ้มกับการเสียเวลาคัดลอกงานแล้วอ้างเป็นฝีมือของตน นอกจากนั้นยังเสียโอกาสในการแสดงฝีมือสร้างสรรค์งานของตัวเองไป การเป็นแค่เงาดำจักต้องอยู่ข้างหลังตัวตนแท้จริงเสมอ ถ้ามีฝีมือเก่งจริง ต้องก้าวออกจากเงามืดแล้วปรากฏกายแสดงพลังแท้จริงให้ประจักษ์แก่สายตาของผู้อื่นเพื่อชื่นชมผลงานของตน
การละเมิดลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดพฤติกรรมใดว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานของผู้อื่นไว้ชัดเจน ได้แก่ การทำซ้ำหรือดัดแปลง เผยแพร่งานต่อสาธารณชน ซึ่งงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาต ส่วนงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นได้เพิ่มการกระทำละเมิดอีกอย่างหนึ่งไว้ คือ การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน หากผู้ใดกระทำการดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องรับโทษอาญาและจ่ายค่าเสียหายแก่เจ้าของงานด้วย หากผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำการต่อไปนี้แก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ได้แก่
  1. ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
  3. แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
  4. นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
การละเมิดนำงานลิขสิทธิ์ไปหากำไรโดยรู้หรือมีเหตุควรรู้ได้ จะใช้ลงโทษ เจ้าของร้านค้า ผู้จัดการ ลูกจ้างที่รู้ชัดหรือมีเหตุควรรู้ว่า กำลังขาย เผยแพร่ นำเข้า งานอันมีลิขสิทธิ์ ดังนั้น ร้านค้าใดขายแผ่นซีดีเพลงหรือภาพยนตร์ หนังสือ ซึ่งละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ที่ต้องรับโทษในคดีประเภทนี้ คือ เจ้าของร้าน ผู้จัดการ ลูกจ้างขายของ ซึ่งต้องรู้หรือควรรู้ว่ากำลังจำหน่ายงานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย พวกเขาจึงรับโทษอาญาหรือจ่ายค่าเสียหายแก่เจ้าของงาน กรณีสำนักพิมพ์ผลิตหนังสือที่ละเมิดลิขสิทธิ์งานของผู้อื่น นอกจากนักเขียนที่ลอกหรือดัดแปลงงานนั้นต้องรับโทษอาญาแล้ว หากสำนักพิมพ์ทราบว่าผลิตงานโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าของงานก่อน แล้วยังออกจำหน่ายอีก จะต้องรับโทษร่วมกับนักลอกด้วยซึ่งการทำเพื่อเห็นแก่การค้าหากำไร ผู้กระทำจะรับโทษจำคุกสูงขึ้นและปรับมากขึ้นเป็นกรณีพิเศษ ดังนั้น การผลิตงานเผยแพร่จึงต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเมื่อมีการแจ้งเตือนให้พิจารณาว่าละเมิดงานลิขสิทธิ์ ต้องรีบตรวจสอบทันทีและงดเผยแพร่งานเพื่อมิให้ต้องรับโทษอาญาร่วมกับนักคัดลอกด้วย แต่สำนักพิมพ์มิได้เสียสิทธิในการเรียกค่าเสียหายจากนักคัดลอกที่สร้างความเสียหายแก่องค์กรของตน หากมีการเรียกร้องค่าเสียหายจากนักคัดลอกเหล่านั้นจะเป็นการปรามนักคัดลอกรุ่นต่อไปมิให้ยึดเป็นเยี่ยงอย่างด้วยและลดความเสียหายของตนลงได้
งานไม่มีลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดงานที่ถือว่าไม่มีลิขสิทธิ์ไว้ด้วย หมายความว่า ทุกคนสามารถนำชิ้นงานทั้งหมดหรือบางส่วนไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนรวมได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือจ่ายค่าตอบแทนก่อน อันได้แก่
  1. ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสารอันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
  2. รัฐธรรมนูญ และ กฎหมาย
  3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
  4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
  5. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆตาม ข้อ 1 ถึง 4 ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น


ข้อยกเว้นการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์
 มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และ ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
          ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งาน อันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
          (1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
          (2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น ในครอบครัวหรือญาติสนิท
          (3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในงานนั้น
          (4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น
          (5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการ พิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการ พิจารณาดังกล่าว
          (6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร 
          
          (7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
          (8 ) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ 

มาตรา 35 การกระทำแก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตาม มาตรา 32 วรรคหนึ่ง ในกรณีดังต่อไปนี้
          (1) วิจัยหรือศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
          (2) ใช้เพื่อประโยชน์ของเจ้าของสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
          (3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
          (4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น
          (5) ทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่สมควรโดยบุคคลผู้ซึ่งได้ซื้อ หรือได้รับโปรแกรมนั้นมาจากบุคคลอื่นโดยถูกต้อง เพื่อเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษา หรือป้องกันการสูญหาย
          (6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อประโยชน์ใน การพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงาน ผลการพิจารณาดังกล่าว
          (7) นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบ ในการสอบ
          (8 ) ดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในกรณีที่จำเป็นแก่การใช้
          (9) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน 

การใช้ที่เป็นธรรม (Fair Use)
   การกระทำงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และ ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 
   โดยการกำหนดให้การใช้งานลิขสิทธิ์ในบางลักษณะสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะถือว่าเป็นการใช้ที่เป็นธรรม เช่น การใช้งานในการเรียนการสอน การเสนอการรายงานข่าวหรือการใช้งานโดยบรรณารักษ์ห้องสมุด เป็นต้น


การใช้ที่เป็นธรรมโดยการไม่ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การดำเนินงานบริการยืมระหว่า่งห้องสมุด

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (29/06/2011)


เรื่อง : การดำเนินงานบริการยืมระหว่า่งห้องสมุด
การดำเนินงานบริการยืมระหว่า่งห้องสมุด เป็นขั้นตอนหรือกระบวนการในการดำเนินการให้บริการผู้ใช้โดยบริการยืมระหว่างห้องสมุด ซึ่งจำเป็นจะต้องมีคณะกรรมการควบคุมการดำเนินงาน ปรับปรุงและพัฒนาห้องสมุด มีขั้นตอนดังนี้

การดำเนินงานบริการยืมระหว่า่งห้องสมุด

1. มีการจัดทำคู่มือ ซึ่งคู่มือดังกล่าวนั้นจะใช้เป็นคู่มือสำหรับทุกห้องสมุดในเครือข่ายเพื่อจะได้มีการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดอย่างเท่าเทียมกัน
2. มีการกำหนดมาตราฐานร่วมกัน กล่าวคือ เป็นการกำหนดมาตราฐานของการให้บริการยืมคืนระหว่างห้องสมุดเพื่อให้ทุกห้องสมุดที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันได้มีการให้บริการที่เป็นแบบแผนเดียวกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าใช้และง่ายต่อความเข้าใจของผู้เข้ามาใช้บริการ
3. กำหนดรูปแบบรายการประสานงานระหว่างห้องสมุด กล่าวคือ ห้องสมุดแต่ละห้องสมุดที่อยู่ในเครือข่ายของบริการยืมคืนนั้นจะต้องกำนดรูปแบบการประสานงานระหว่างห้องสมุด เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนในการประสานงานแต่ละครั้ง และเป็นการช่วยลดความผิดพลาดในการให้บริการผู้ใช้ ซึ่งห้องสมุดที่ให้บริการเป็นผู้กำหนดนโยบายพิเศษของวิธีการยืมระหว่างห้องสมุด
   การพัฒนางานเพื่อความร่วมมือระหว่างห้องสมุด หรือการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดเป็นหน้าที่ของบรรณารักษ์อ้างอิงหรือบรรณารักษ์บริการตอบคำถาม เพราะโดยปกติแล้วบรรณารักษ์อ้างอิงจะเป็นผู้ให้บริการสืบค้นหาข้อมูลเพื่อตอบคำถามแก่ผู้ใช้เป็นประจำ จึงทำให้มีทักษะในการสืบค้นข้อมมูลที่รวดเร็วและคล่องแคล่ว อีกทั้งรู้จักแหล่งสืบค้นข้อมูลและฐานข้อมูลต่างๆเป็นอย่างดี ดังนั้นบรรณารักษ์อ้างอิงจึงเป็นผู้ทำหน้าที่จัดการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดเพื่อสามารถค้นหาฐานข้อมูลต่างๆได้โดยง่ายและรวดเร็ว

การดำเนินงานบริการยืมระหว่า่งห้องสมุด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันดังนี้
1. การดำเนินงานด้วยระบบมือ (Non-automated ILL) เช่น การติดต่อทาง E-mail การติดต่อทางไปรษณีย์ การติดต่อทางโทรศัพท์ หรือการกรอกแบบฟอร์มที่แต่ละห้องสมุดกำหนดไว้ให้ อาจจะกรอกแบบฟร์อมในกระดาษ หรือโพสลงในแบบฟอร์มบนอินเทอร์เน็ตที่ห้องสมุดแต่ละแห่งกำหนดไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้ แต่ข้อเสียของวิธีนี้อาจก่อให้เกิดความล่าช้า เพราะบางห้องสมุดอาจมีจำนวนบรรณารักษ์ที่ให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดน้อย จึงให้บริการผู้ใช้ได้ช้า และข้อมูลที่ได้อาจจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ได้ ซึ่งแต่ละห้องสมุดอาจจะต้องมีการปรับปรุงหรือแก้ไขการให้บริการดังนี้
- ควรกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและต้องมีการจัดทำรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิงที่จะใช้ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการ
- ควรมีการจัดทำแบบฟอร์ม (Manual request) เดียวกันจะช่วยให้การกรอกข้อมูลไม่ผิดพลาดหรือเกิดความผิดพลาดได้น้อย อีกทั้งป้องกันการลืมกรอกข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งแบบฟอร์มที่ดีและการกรอกข้อมูลที่ดี ถูกต้องจะช่วยให้สถาบันผู้ให้ยืม (Lending Library) ปฏิบัติงานได้เร็วขึ้น


แบบฟอร์มการส่งเอกสารของบริการยืมระหว่างห้องสมุด

การกรอกแบบฟอร์มหรือการดำเนินงานด้วยระบบมือ

2. การดำเนินงานในระบบอัตโนมัติ (Automated ILL) เป็นวิธีการที่ผู้ใช้สามารถค้นออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติไปยังฐานข้อมูลของสถาบันหรือหน่วยงานบริการสารสนเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้ให้ง่าย เป็นจำนวนมาก และรวดเร็วขึ้น
- การยืมระหว่างห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นจะช่วยทำให้ทราบว่าที่ไหนมีทรัพยากรสารสนเทศใดบ้าง ซึ่งจะช่วยให้การยืมมีความสะดวกและง่ายขึ้น 
การยืมระหว่างห้องสมุดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สถาบันที่สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า ควรเลือกยืมทรัพยากรสารสนเทศจากสถาบันแห่งใดมากที่สุด ซึ่งอาจจะช่วยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้รับบริการที่ดีที่สุด


การดำเนินงานด้วยระบบอัตโนมัติสืบค้นออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย

การคิดค่าบริการในการให้ยืมระหว่างห้องสมุด มีดังต่อไปนี้
1. การให้บริการยืมระหว่างห้องสมุด ควรมีการคิดค่าบริการจากผู้ใช้ทั้งนี้อย่างน้อยเพื่อให้สถาบันสารสนเทศมั่นใจว่า ผู้ใช้จะมารับรายการที่ยืมไว้แน่นอน และผู้ใช้ก็มั่นใจว่าสถาบันสารสนเทศจะต้องดำเนินการให้บริการอย่างแน่นอน
2. การคิดค่าบริการสำหรับบริการพิเศษ เช่น ค่าใช้บริการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ ค่าค้นฐานข้อมูล เนื่องจากขั้นตอนในการให้บริการนั้นจะมีค่าใช้จ่ายต่า่งๆ ดังต่อไปนี้ ค่าไปรษณีย์ ค่าประกันความเสียหาย ค่าถ่ายเอกสาร และค่าบริการจากสถาบันของผู้ให้ยืม เป็นต้น
การดำเนินการเมื่อได้รับเอกสาร
1. แจ้งผู้ขอทันที กล่าวคือ เมื่อผู้ใช้บริการได้รับเอกสารที่ต้องการแล้วจะต้องมีการแจ้งให้ผู้ให้บริการหรือสถาบันสารสนเทศที่ให้บริการทราบว่าได้รับเอกสารแล้ว เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้รับเอกสารจริง
2. จัดการให้มีการส่งคืนตามกำหนด กล่าวคือ เมื่อผู้ใช้ได้รับเอกสารที่ต้องการแล้วและได้ใช้ข้อมูลจากเอกสารที่รับตรงกับความต้องการหรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องส่งคืนแก่สถาบันที่ให้บริการ เพื่อนำเอกสารที่ยืมนั้นไปหมุนเวียนให้ผู้อื่นใช้อีกต่อไป
ข้อคำนึงด้านจริยธรรมและกฎหมาย
   การให้บริการยืมระหว่างสถาบันสารสนเทศเป็นบริการที่จะต้องมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องมีการทำสำเนาบทความจากหนังสือ วารสาร วัสดุย่อส่วน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และวัสดุสถาบันอื่นๆ ซึ่งการคัดลอกหรือสำเนางานของผู้อื่นนั้น แม้บางเรื่องจะไม่ผิดกฎหมายแต่ก็ควรคำนึงถึงจริยธรรมในการคัดลอกงานของผู้อื่นด้วย
   ดังนั้นก่อนการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดควรขออนุญาตเจ้าของผลงานก่อนเพื่อเป็นการให้เกียรติและป้องกันการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ ควรแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเกี่ยวกับสิทธิในการทำสำเนา โดยอาจติดไว้ที่เคาน์เตอร์ยืม-คืน หรือที่บริการยืมระหว่างสถาบัน

ป้องกันการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุด

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (24/06/2011)


เรื่อง : บริการยืมระหว่างห้องสมุด
บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน ( Inter Library Loan ) คือ บริการที่สถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศร่วมมือกันในการให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่งอื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกัน
- การยืมระหว่างสถาบันสาขากับสถาบันศูนย์กลาง
- การยืมระหว่างสถาบันในประเทศ
- การยืมระหว่างสถาบันที่อยู่ต่างประเทศโดยการสมัครเป็นสมาชิก
ฝ่ายบริการห้องสมุดจะต้องคำนึงว่าการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดเป็นบริการหลัก
1. การขอยืม ( Borrowing ) กล่าวคือ สถาบันสารสนเทศหรือห้องสมุดที่ขาดความพร้อมทางด้านการมีทรัพยากรสารสนเทศก็สามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดอื่นที่มีความพร้อมด้านทรัพยากรได้ เป็นการช่วยเหลือกันทางด้านการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ
2. การให้ยืม ( Lending ) กล่าวคือ สถาบันสารสนเทศหรือห้องสมุดที่มีความพร้อมทางด้านการมีทรัพยากรสารสนเทศที่ครบครัน มีความพร้อมทางด้านการให้บริการ ก็สามารถให้สถาบันหรือห้องสมุดอื่นที่ขาดความพร้อมทางด้านทรัพยากรสารสนเทศยืมได้ เป็นการสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดระหว่างกัน

บริการยืมระหว่างห้องสมุด

ความคาดหวังของผู้ใช้ (User Expectation)
1. ห้องสมุดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ เป็นบริการที่ห้องสมุดจะต้องจัดเตรียมให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุด และต้องให้บริการสารสนเทศที่ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
2. มีความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศ กล่าวคือ ห้องสมุดจะต้องเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ทุกประเภท ทุกรูปแบบซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งห้องสมุดจะต้องจัดเตรียมวิถีทางเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็วและตรงต่อความต้องการของผู้ใช้มากที่สุดเพราะเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ควาดหวังในการเข้ามมาใช้บริการที่ห้องสมุด
3. ได้สารสนเทศที่ต้องการอย่างเหมาะสม กล่าวคือ เมื่อผู้ใช้ได้สารสนเทศที่ต้องต่อความต้องการของผู้ใช้ไป ก็จะทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจในการให้บริการของห้องสมุดและจะช่วยทำให้มีการบอกต่อ ซึ่งจะทำให้มีผู้เข้ามาใช้บริการในห้องสมุดเพื่อมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพหรือศักยภาพรวมทั้งคุณภาพที่ห้องสมุดได้ให้บริการแก่ผู้ใช้
4. มีความน่าเชื่อถือ เป็นความคาดหวังของผู้ใช้ในเรื่องความน่าเชื่อถือของการได้มาซึ่งสารสนเทศ หากสารสนเทศที่ห้องสมุดให้บริการแก่ผู้ใช้นั้นมีความน่าเชื่อถือก้ย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของห้องสมุด
5. ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้ กล่าวคือ การเข้าใช้บริการห้องสมุดแต่ละครั้งนั้นหากไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่างๆย่อมทำให้ผู้ใช้รู้สึกดีและอยากเข้ามาใช้บริการในห้องสมุดอีก เพราะนอกจากจะได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการแล้วยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย
6. สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ กล่าวคือ การที่ห้องสมุดได้สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุดนั้น ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของห้องสมุดในการให้บริการแก่ผู้ใช้

ปรัชญาของการบริการ ILL
- ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถสนองตอบความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ได้ทั้งหมด เนื่องมาจากสารสนเทศบนโลกใบนี้มีอยู่เป็นจำนวนมากและกระจัดกระจายกันอยู่อย่างหลากหลายซึ่งในการค้นหาแต่ละครั้งอาจจะไม่พบหรือค้นหาได้ค่อนข้างยาก อีกทั้งความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้แต่ละคนนั้นย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งบรรณารักษ์ก็ต้องสามารถให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ได้อย่างตรงกับความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุดถึงแม้ว่าจะไม่ครบถ้วนก็ตาม โดยการแสวงหาความร่วมมือกับห้องสมุดอื่นซึ่งอาจจัดทำเป็นเครือข่ายห้องสมุดในการให้บริการแก่ผู้ใช้
-  ความร่วมมือเป็นพื้นฐานของการจัดบริการ ILL เพราะห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศจะต้องสารมารถให้การบริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ได้อย่างตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ จึงต้องมีการแสวงหาความร่วมมือกับห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศอื่นๆที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน โดยอาจจัดทำในรูปแบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้นและหลากหลาย อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศระหว่างห้องสมุดอีกด้วย

ความสำคัญของบริการ ILL
1. ขยายความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้
     -  ช่วยลดปัญหาการมีวัสดุห้องสมุดไม่เพียงพอ
     -  ช่วยลดช่องว่างระหว่างสถาบัน รวมถึงการสร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้
2. ช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทาง กล่าวคือ ห้องสมุดบางแห่งนั้นอาจจะอยู่ห่างไกลกันแต่เป็นห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศที่ครบครันหรือมีความพร้อมทา่งด้านการให้บริการ ซึ่งหากมีการร่วมมือกันเป็นเครือข่ายในการให้บริการสารสนเทศแล้วก็ช่วยลดข้อจำกัดทางด้านระยะทางได้เป็นอย่างดี
3. มีการใช้ทรพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่าคุ้มทุน กล่าวคือ ในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาให้บริการผู้ใช้ในห้องสมุดนั้นจะต้องมีการสำรวจความต้องการใช้ทรัยากรของผู้ใช้ก่อนจึงจะจัดซื้อจัดหาได้ ซึ่งถ้าหากจัดให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้แล้วก้จะทำให้คุ้มทุนคุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมาให้บริการในห้องสมุด ทรัพยากรในห้องสมุดก็จะถูกยืมหรือเกิดการหมุนเวียนไปใช้อย่างสม่ำเสมอ
4. ช่วยประหยัดงบประมาณ หลีกเลี่ยงการซื้อซ้ำซ้อน กล่าวคือ หากมีการร่วมมือกันเป็นเครือข่ายเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนทรัยากรสารสนเทศกันนั้น ย่อมเป็นการลดการจัดซื้อจัดหาที่อาจเกิดความซ้ำซ้อนกันได้และยังเป็นการช่วยให้เกิดการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างหลากหลายประเภทอีกด้วย
5. ช่วยให้เข้าถึงสรสนเทศที่หายาก กล่าวคือ ในบางห้องสมุดอาจจะไม่มีทรัพยากรสารสนเทศที่หายากแต่เมื่อเิกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุดแล้วก็สามารถจะยืมสารสนเทศที่หายากจาห้องสมุดในเครือข่ายเดียวกันได้ ทำให้ประหยัดงบประมาณและประหยัดเวลาในการเข้าถึงสารสนเทศได้เป็นอย่างดี
6. สร้างความแข็งแรงในการจัดการ กล่าวคือ การร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศนั้นย่อมทำให้สามารถมีระบบการจัดกาีรห้องสมุดในด้านการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศได้ดีกว่าการจัดทำเพียงลำพังของห้องสมุดเดียว ทำให้การจัดการในการให้บริการแก่ผู้ใช้ในด้านการเข้าถึงสารสนเทศเกิดความง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
7. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการให้บริการ คือ หากห้องสมุดสามารถให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แล้ว และสารสนเทศที่ให้บริการนั้นมีความน่าเชื่อถือ อีกทั้งสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้วย่อมทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจและกลับมาใช้บริการห้องสมุดอีกเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับห้องสมุดเป็นอย่างมาก
 


เครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

องค์ประกอบการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ คือ เป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างห้องสมุดหลายๆห้องสมุด เพื่ออก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน หมุนเวียนระหว่างกัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างหลากหลาย และกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2. การสร้างข้อตกลงความร่วมมือระหว่างห้องสมุด คือ เมื่อได้มีการสร้างความร่วมมือหรือเครือข่ายของห้องสมุดแล้วจากนั้นจึงจะต้องมีการสร้างข้อตกลงในการร่วมมือกันระหว่างของห้องสมุดเพื่อเป็นกฎเกณฑ์หรือแบบปฎิบัติให้ห้องสมุดที่อยู่ในเครือข่ายได้ปฎบัติตาม
3. แบบฟอร์มการยืมระหว่างห้องสมุด คือ เป็นแบบฟอร์มในการใช้ติดต่อขอยืมทรัพยากรสารสนเทศระหว่างห้องสมุด เพื่อให้เกิดความง่ายและความเป็นแบบแผนเดียวกันในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ
4. การเป็นสมาชิกเครือข่ายระหว่างห้องสมุด คือ จะช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศของแต่ละห้องสมุดได้อย่างหลากหลาย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ถือเป็นการลดช่องว่างของระยะทางในการเข้าถึงสารสนเทศให้แคบลง
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ


ตัวอย่างบริการยืมระหว่างห้องสมุด

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ค่าปรับ (บริการยืม-คืน)

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (21/06/2011)


เรื่อง : ค่าปรับ
ค่าปรับ คือ การกำหนดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้แก่บริการยืม-คืนภายในห้องสมุด เนื่องมาจากมีการยืมทรัพยากรสารสนเทศเกินวัน เวลา ที่ห้องสมุดได้กำหนดระยะเวลายืมไว้ เืพื่อเป็นการกระจายการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ห้องสมุด และเป็นการส่งเสริมการมีความรับผิดชอบของผู้ยืม อีกทั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้มีการส่งคืนหนังสือตามวันและเวลาที่กำหนด

บริการยืม - คืนในห้องสมุด

การกำหนดค่าปรับ มีลักษณะดังต่อไปนี้
- การกำหนดจำนวนค่าปรับแตกต่างกัน กล่าวคือ การกำหนดค่าปรับของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆว่าเป็นชนิดใด นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมไปนั้นว่ามีจำนวนกี่เล่ม และยืมเกินกำหนดกี่วัน
- ค่าปรับการยืมระยะสั้นจะสูงกว่ากำหนดยืมระยะยาว กล่าวคือ หนังสือแต่ละประเภทที่ห้องสมุดให้ยืมนั้นมีหลากหลายประเภทและมีความสำคัญหรือความนิยมใช้ในกลุ่มผู้ใช้แตกต่างกัน หากหนังสือที่ห้องสมุดให้ยืมในระยะเวลาที่สั้นและหากคืนเกินกำหนดระยะเวลายืมก็จะเสียค่าปรับสูงมากกว่าปกติ แสดงให้เห็นว่าหนังสือประเภทนั้นเป็นหนังสือที่ใหม่หรือเป็นหนังสือที่เป็นที่นิยมยืมของผู้ใช้เป็นอย่างมาก ซึ่งการกำหนดค่าปรับที่สูงกว่าปกติก็เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ยืมนำหนังสือมาคืนตามเวลาที่กำหนด เพื่อทำให้หนังสือนั้นได้หมุนเวียนให้แก่ผู้อื่นที่มายืมหนังสือในห้องสมุดได้ใช้บ้าง ส่วนหนังสือที่มีกำหนดยืมระยะยาว แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของหนังสือได้้ลดน้อยลงไปหรือเป็นหนังสือที่ไม่เป็นที่นิยมยืมในกลุ่มผู้ใช้ หรือเป็นหนังสือที่ค่อนข้างเก่าแล้วจึงไม่ค่อยมีผู้ยืมมาก การกำหนดค่าปรับจึงลดลงมากว่าหนังสือที่ใหม่และเป็นที่นิยมยืมของผู้ใช้
- ค่าปรับทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทในห้องสมุดนั้นมีหลากหลายประเภทด้วยกัน มีทั้งทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ หรือทรัพยากรสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งค่าปรับของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกันออกไปตามชนิด ความสำคัญ ลักษณะของการนำมาใช้งาน และการซ่อมแซมบำรุงรักษาหากเกิดการชำรุดเสียหายในภายหลังจากนำหนังสือมาคืน
- ควรส่งเอกสารแจ้งเตือนวันส่ง กล่าวคือ เป็นสิ่งที่ห้องสมุดควรจะทำเพื่อเป็นการแจ้งเตือนวันส่งคืนหนังสือให้แก่ผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถคืนหนังสือได้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งบางห้องสมุดได้มีการจัดทำระบบแจ้งเตือนวันส่งหนังสืออัตโนมัติให้แก่ผู้ใช้ทราบ

การเสียค่าปรับหนังสือของห้องสมุด

การจัดการปัญหาในการปรับ
- มีการยกเว้น กล่าวคือ ในกรณีที่เกิดการเข้าใจผิดระหว่างบรรณารักษ์กับผู้ใช้หรือมีการกำหนดวันที่ในการคืนผิดพลาดจากความเป็นจริงแล้ว ซึ่งเป็นความผิดมาจากตัวบรรณารักษ์เอง ก็ต้องมีการยกเว้นการเสียค่าปรับให่แก่ผู้ใช้
- มีการผ่อนผัน กล่าวคือ กำหนดให้มีการปรับหรือเรียกเก็บค่าปรับให้น้อยที่สุดเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีหนังสือหมุนเวียนให้ผู้ใช้คนอื่นมี่มายืมหนังสือได้ใช้บ้าง 
- หากไม่มีการคืนและไม่จ่ายค่าปรับ สิทธิการใช้ห้องสมุดจะถูกระงับ เช่น การยกเลิกความเป็นสมาชิกของห้องสมุดนั้นๆ
- ในบางห้องสมุดอาจมีการใช้บริการติดตามจากบริษัทที่มีบริการติดตาม ซึ่่งถือได้ว่ามีจำนวนน้อยมากที่มีบริการติดตามจากบริษัท
- ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะทำเรื่องระงับการออก transcripts หรือระงับการอนุมัติสำเร็จการศึกษา เนื่องมาจากการค้างชำระค่าปรับการยืมหนังสือจาห้องสมุด
- หลังจาก grace period ควรกำหนดค่าปรับตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้โดยไม่นับตามความเป็นจริงซึ่งถือเป็นการสร้างความรับผิดชอบให้แก่ผู้ใช้เพื่อนำหนังสือที่ยืมไปมาคืน และเพื่อให้สารสนเทศเผยแพร่เข้าถึงผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมาก และที่สำคัญไม่ควรค้ากำไรจากค่าปรับหนังสือในห้องสมุดเพราะการเสียค่าปรับเป็นการบั่นทอนความรู้่สึกของผู้ใช้แทนการส่งเสริมให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการยืมหนังสือในห้องสมุด
- มีการติดประกาศแจ้งข้อความร่วมมือให้กับผู้ใช้ เป็นการแสวงหาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและผู้ใช้ เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ใช้และห้องสมุดในเรื่องของรายละเอียดต่างที่ห้องสมุดได้กำหนดไว้ในการบริการผู้ใช้
- มีการแจ้งเตือนเป็นระยะก่อนดำเนินการใดๆที่จะระงับสิทธิ กล่าวคือ ห้องสมุดจะต้องมีการแจ้งเตือนผู้ใช้เป็นระยะๆก่อนที่จะทำการระงับสิทธิใดๆที่ผู้ใช้มีต่อห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงการจะระงับสิทธินั้นและผู้ใช้จะได้กระทำการรักษาสิทธิของตนเองก่อนที่จะเสียไป

การจ่ายค่าปรับ มีวิธีการจ่ายและสถานที่จ่ายค่าปรับดังต่อไปนี้
- จ่ายที่บริการยืม-คืน
- จ่ายผ่านระบบจ่ายเงินอัตโนมัติ
- เปิดให้มีโอกาสการผ่อนผันการต่อรองระหว่างผู้ยืมและเจ้าหน้าที่
- สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัย ค่าปรับจะต้องนำส่งมหาวิทยาลัยเนื่องจากเป็นเงินรายได้ แต่ห้องสมุดสามารถทำโครงการขอใช้งบประมาณจากเงินค่าปรับได้
   การยืมหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศประเภทอื่นๆในห้องสมุดได้เป็นจำนวนมาก หรือมีผู้เข้ามาใช้บริการห้องสมุดเป็นจำนวนมากนั้น เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของห้องสมุดได้มากกว่าการได้เงินรายได้จากการเสียค่าปรับของผู้ใช้ ซึ่งการเสียค่าปรับในจำนวนที่สูงนั้นหรือการเสียค่าปรับทุกครั้งที่ยืมย่อมสร้างความไม่พอใจต่อผู้ใช้อย่างมากและเป็นการบั่นทอนความรู้สึกของผู้ใช้ต่อบริการของห้องสมุดและการจะทำให้ผู้ใช้กลับมารู้สึกดีต่อห้องสมุดเช่นเดิมอาจต้องใช้เวลานาน ซึงอาจทำให้เสียกลุ่มผู้เข้ามาใช้บริการห้องสมุดไปได้

การจ่ายหรือต่อรองค่าปรับระหว่างบรรณารักษ์และผู้ยืม

ค่าสมาชิก/ค่าธรรมเนียม
- ใช้สำหรับหนังสือชำรุดเสียหาย
- ห้องสมุดต้องมีนโยบายในการกำหนดค่าธรรมเนียมในการซ่อมแซมหนังสือ และต้องแจงรายละเอียดให้แก่ผู้ใช้ทราบถึงราคาค่าธรรมเนียมที่แท้จริง เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้
- หากหนังสือหายากหาย จำเป็นที่จะต้องมีการเก็บค่าปรับในจำนวนที่สูงกว่าปกติเพราะการจัดซื้อจัดหาหนังสือหายากมาให้บริการแก่ผู้ใช้ั้นั้นย่อมเป็นเรื่องยาก เพราะหนังสือหายากบางประเภทหรือบางเรื่องนั้นอาจจะหาซื้อยากในท้องตลาดหรือไม่มีการจัดพิมพ์หนังสือประเภทนี้อีก หรืออาจมีจำนวนจำกัดเพราะจัดทำเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ การจะหาหนังสือประเภทอื่นมาทดแทนหนังสือหายากจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง

จริยธรรมในการบริการ
   บรรณารักษ์ต้องป้องกันสิทธิของผู้ใช้ในการยืมหนังสือ และให้ผู้ใช้สามารถยืมหรือครอบครองหนังสือได้ครบถ้วนกันทุกคนหรือสามารถทำให้มีหนังสือหมุนเวียนให้บริการแก่ผู้ใช้ที่เข้ามาในห้องสมุดได้ อีกทั้งสามารถทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจในการให้บริการของบรรณารักษ์ เพื่อที่จะได้กลับมาใช้บริการห้องสมุดอีกในครั้งต่อไป

บรรณารักษ์ในห้องสมุด

การจัดชั้นหนังสือ
- เป็นหน้าที่ของบริการยืม-คืน ที่ต้องจัดการเกี่ยวกับชั้นหนังสือ หรือเรียงหนังสือบนชั้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและค้นหาทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
- สร้างความคิดการมีส่วนร่วมให้แก่ผู้ใช้ห้องสมุด : เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถได้ทำกิจกรรมร่วมกับห้องสมุดหรือให้ผู้ใช้มีส่วนช่วยให้มีการเข้ามาใช้บริการห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น เช่น ผู้ใช้มีการบอกต่อให้ผู้อื่นเข้ามาร่วมใช้บริการห้องสมุด
- บรรณารักษ์สามารถแสวงหาความร่วมมือจากผู้ใช้ได้ : บรรณารักษ์จะต้องสามารถสร้างกลยุทธ์ต่างๆหรือกำหนดนโยบายของห้องสมุดโดยมีวัตถุปรสงค์ให้ผู้ใช้ได้มีส่วนร่วมในการใช้บริการห้องสมุดเช่น กำหนดนโยบายให้ผู้ใช้ปฎิบัติตามกฎการยืม-คืนหนังสือของห้องสมุด เป็นต้น
- บรรณารักษ์ต้องสามารถจัดหนังสือให้อยู่บนชั้นได้ตลอดเวลา : เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
- มีการกำหนดทุกเดือนบรรณารักษ์ต้องมาตรวจสอบและติดตามหนังสือบนชั้น ว่ามีหนังสือครบหรือไม่ หายไปหรือไม่อยู่บนชั้นหรือไม่ และผู้ใช้สามารถตรวจสอบหนังสือบนชั้นได้ด้วยตนเองได้
- ต้องสำรวจหนังสือยอดนิยมหรือหนังสือใหม่ที่มีความน่าสนใจ โดยนำมาจัดเรียงขึ้นบนชั้นหนังสือเพื่อให้ผู้ใช้มองเห็นได้ง่ายและสามารถค้นหาได้ง่ายสำหรับผู้ใช้
- ตรวจสอบสถิติหนังสืออยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบหนังสือที่ตนต้องการยืมว่ายังมีให้บริการอยู่บนชั้นหนังสือหรือไม่ เพื่อช่วยในการหาหนังสือให้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

การจัดชั้นหนังสือภายในห้องสมุด
การจัดชันหนังสือและมุมนั่งอ่านหนังสือให้แก่ผู้อ่าน

การดูแลรักษาหนังสือ
1.) การที่บรรณารักษ์ดูแลรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพที่ดีนั้น จะทำให้หนังสือมีความคงทนและอยู่ได้นาน ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดหาหนังสือใหม่หรือการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
2.) บรรณารักษ์ควรจะจัดอบรม หรือแนะนำการดูแลรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพดี ให้แก่ผู้ใช้ห้องสมุดหรือผู้ที่เข้ามายืมหนังสือในห้องสมุด อีกทั้งควรสาธิตการดูแลรักษาหนังสือให้แก่ผู้ใช้ดูเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ใช้ใช้หนังสืออย่างระมัดระวังและถูกวิธีมากยิ่งขึ้นเพื่อยืดอายุการใช้งานของหนังสือในห้องสมุด
3.) จัดทำคู่มือปฏิบัติและแจ้งรายละเอียดการใช้หนังสือให้ผู้ใช้ทราบ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้ดูแลรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพดีทุกครั้งที่มีการยืมหนังสืออกไปจากห้องสมุด

การดูแลรักษาหนังสือของบรรณารักษ์ยืม - คืน
  
หนังสือที่ควรดูแลรักษาเพื่อให้มีสภาพการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น

วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืม-คืน

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (17/06/2011)


เรื่อง : บริการยืม-คืน
บริการยืม - คืน :  คือ บริการให้ยืม - คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ บริการให้ยืมหนังสือและสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งสื่อการศึกษาของห้องสมุดยกเว้นหนังสืออ้างอิง วารสารเย็บเล่ม หนังสือพิมพ์ วารสารใหม่เพื่อให้ความสะดวกในการใช้ทรัพยากรภายในห้องสมุ
เป้าหมายหลัก คือ
- เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
- สามารถนำไปศึกษาค้นคว้านอกสถาบันได้

บทบาทหน้าที่ของบริการยืมคืน
1.การควบคุมงานบริการยืม-คืน กล่าวคือ นับเป็นบริการที่ห้องสมุดสมัยใหม่จะต้องมี เนื่องมาจากเป้าหมายหลักของห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศ คือ ให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว พร้อมทั้งตรงตามความต้องการของผู้ใช้
2. ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด กล่าวคือ งานบริการยืม-คืนเป็นบริการจุดแรกที่ผู้ใช้จะมองเห็นและเข้ามาติดต่อใช้บริการเป็นอย่างมากในห้องสมุด การประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ห้องสมุดทราบถึงข้อมูลการใช้ห้องสมุด หรือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศต่างๆให้แก่ผู้ใช้ได้ทราบอยู่ตลอดเวลา ก็จะทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจจากการให้ความช่วยเหลือและบริการที่ได้รับ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทัศนคติของผู้ใช้ บริการการนี้จึงอาจเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพการบริการห้องสมุด

การจัดการ
1. ห้องสมุดขนาดเล็ก (Small Libraries) : หน้าที่บรรณารักษ์ คือ ต้องจัดการและทำหน้าที่ทุกอย่างภายในห้องสมุดนั้นๆ เช่น การกำหนดนโยบายของห้องสมุด การกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน แนะนำขอบข่ายของการทำงานให้แก่ผู้ร่วมงานในห้องสมุด และบรรณารักษ์ยืม-คืน จะต้องสามารถตอบคำถามได้หากมีผู้ใช้บริการมาถาม
2. ห้องสมุดขนาดกลาง (Larger Libraries) : การจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงานของบรรณารักษ์คือ จะต้องมีหัวหน้าบรรณารักษ์ คอยทำหน้าที่ควบคุมดูแลบรรณารักษ์ภายในห้องสมุด ผู้ช่วยบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุดและมีหน้าที่แบ่งงานต่างๆให้บรรณารักษ์คนอื่นทราบ เนื่องจากขนาดของห้องสมุดนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นจึงทำให้ต้องมีบรรณารักษ์หลายคนคอยช่วยกันดำเนินงานหรือบริการต่างๆภายในห้องสมุด และที่สำคัญจะต้องมีหัวหน้าบรรณารักษ์คอยควบคุมดูแลด้วย
3. ห้องสมุดขนาดใหญ่ (Very Large Libraries)  : เนื่องจากขนาดของห้องสมุดนั้นมีขนาดที่ใหญ่มาก และจำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดนั้นก็มีเพิ่มขึ้นตามขนาดของห้องสมุดไปด้วย จึงทำให้ห้องสมุดจำเป็นต้องมีหัวหน้างานหรือหัวหน้าหน่วยงานของห้องสมุดเป็นผุ้ดูแลและควบคุม อีกทั้งการแบ่งหน้าที่งานในแผนกต่างๆให้บรรณารักษ์ในห้องสมุดทำร่วมกัน

ความรู้และทักษะที่ต้องการของบรรณารักษ์ยืม-คืน
- มีใจรักในงานบริการและมีความอดทน กล่าวคือ บรรณารักษ์จะต้องเป็นผู้ที่มีใจรักในงานที่ให้บริการผู้อื่นเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงจะสามารถทำให้ทำงานได้อย่างราบรื่น และที่สำคัญต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อหน้าที่ในการทำงานหรือการกระทบกระทั่งทางความรู้สึกกับผู้ใช้บริการห้องสมุด
- มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้บริการ กล่าวคือ ต้องสามารถอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศและสามารถแนะนำทรัพยากร รวมทั้งตอบคำถามจากผู้ใช้บริการได้
- มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล OPAC กล่าวคือ บรรณารักษ์ยืม-คืนควรจะต้องมีทักษะและความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการสืบค้นข้อมูลหรือใช้ในการให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทสได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น
- มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กล่าวคือ หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าหรือเกิดปัญหาเกี่ยวกับผู้ใช้ห้องสมุด บรรณารักษ์สามารถแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธภาพและเหมาะสม
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี กล่าวคือ บรรณารักษ์ยืม-คืนจะต้องมีบุคลิกภาพที่ดี หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ดูเป็นมิตรกับผู้ใช้ห้องสมุด ใช้คำพุด-อย่างสุภาพ แต่งกายเรียบร้อย เพื่อให้ดูมีความน่าเชื่อถือและเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บรรณารักษ์ได้

งานที่เกี่ยวข้องกับบริการยืม-คืน
1. การยืมและการคืน แบ่งออกเป็นดังต่อไปนี้ 
    - บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ
    - กำนดระยะเวลาในการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ
    - บริการจับจองสิ่งพิมพ์
    - บริการหนังสือสำรอง
    - บริการตรวจสอบหนังสือ เมื่อผู้ใช้หาตัวเล่มจากชั้นไม่พบ
    - การกำหนดอัตราค่าปรับสิ่งพิมพ์เกินกำนดส่ง/เสียหาย และการออกใบเสร็จ
    - บริการตอบคำถามชี้แนะสารสนเทศแก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุด 
    - บริการยืมระหว่างห้องสมุด(ภายใน) และการจัดส่งเอกสาร
    - บริการล็อคเกอร์รับฝากสิ่งของ ตรวจกระเป๋า และสิ่งของที่ผู้ใช้บริการนำติดตัวก่อนออกจากห้องสมุด 
2. การจัดเก็บทะเบียนผู้ใช้ : มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อจำแนกว่าใครบ้างที่มีสิทธิ์ยืมทรัพยากรหรือมีสิทธิ์ใช้บริการห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศ อีกทั้งการทราบข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ จะช่วยให้เกิดความสะดวกในการติดต่อผู้ใช้ และห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศจำเป็นต้องทราบกลุ่มเป้าหมายและลักษณะกลุ่มเป้าหมายที่จะให้บริการ
3. ระบบงานยืมอัตโนมัติ : เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้งานยืม-คืนสามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาระบบห้องสมุดให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับยุคเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
     - เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode
       คือ เทคโนโลยีบาร์โค้ดซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ อาทิ ด้านการค้า หรือบริการยืมคืนหนังสือในห้องสมุด โดยนำบาร์โค้ดมาติดกับหนังสือ เพื่อใช้ในการจัดเก็บชื่อ รหัส และรายละเอียดของหนังสือแต่ละเล่ม หรือทางด้านการจัดหมวดหมู่ของหนังสือ ช่วยในการตรวจสอบจำนวนหนังสือที่ถูกยืมจากผู้ใช้และการคืนหนังสือในแต่ละครั้งได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทั้งนี้การนำบาร์โค้ดมาใช้อย่างแพร่หลายแะเป็นที่นิยมกันมาก แต่ คุณสมบัติที่มีอยู่ของบาร์โค้ดแบบ 1 มิตินั้น ยังไม่เป็นที่รองรับความต้องการของผู้ใช้งานได้มากเท่าที่ควรและมีข้อจำกัดมากในการใช้งาน เช่น การบรรจุข้อมูลได้น้อย และการใช้ฐานข้อมูลในการจัดเก็บ เป็นต้น ดังนั้นจึงทำให้มีการพัฒนาบาร์โค้ด 2 มิติขึ้นมา
การติดแถบ BarCode ไว้ที่หนังสือ     
 ตู้บริการยืม-คืนอัตโนมัติ
     - คิวอาร์โค๊ด (QR Code,2D Barcode)
        คือบาร์โค้ด 2 มิติเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ โดยออกแบบให้บรรจุได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลได้มาก ข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน หรือเกาหลี เป็นต้นและบาร์โค้ด 2 มิติสามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย อุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โค้ด 2 มิติมีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบซีซีดีหรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับของบาร์โค้ด 1 มิติจนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้ ในส่วนลักษณะของบาร์โค้ด 2 มิติมีอยู่อย่างมากมายตามชนิดของบาร์โค้ด เช่น วงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอย่างบาร์โค้ด 2 มิติ ได้แก่ PD417, MaxiCode, Data Matrix,และ QR code เป็นต้น
         ในปัจจุบันได้มีการนำ OR Code มาประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ (CIP) และอำนวยความสะดวกให้กับห้องสมุดในการบริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ อีกทั้งยังช่วยเก็บข้อมูลการยืม-คืนหนังสือในห้องสมุด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดเวลาในการทำรายการหนังสือในห้องสมุดต่างๆได้เป็นอย่างดี

การติดแถบ OR Code กับหนังสือ
     - เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identify - RFID)
       คือ เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี(RFID) ถึงแม้ว่าจะมีหลักการทำงานคล้ายกับบาร์โค้ด แต่มีศักยภาพที่สูงกว่าคือสามารถอ่านข้อมูล บันทึกแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมได้ในภายหลัง และส่งข้อมูลด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ด้วยศักยภาพเหล่านี้ทำให้ห้องสมุดหลายแห่งนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาใช้กับการยืม-คืน แต่ประเด็นหลักของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีคือตัวป้ายอาร์เอฟไอดีมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงร่วมกับโปรแกรมระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมกันพัฒนา 2D Barcode เพื่อรองรับการยืม-คืนหนังสือ ทดแทนการใช้อาร์เอฟไอดี ที่มีราคาแพง
บริการยืม-คืนหนังสือด้วยตนเองด้วยเทคโนโลยี RFID