วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

WEB 2.0 Lib 2.0

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (2/09/2011)

เรื่อง : WEB 2.0  Lib 2.0 


Web 2.0 เป็นคำที่ถูกคิดขึ้นมาอธิบายถึงลักษณะของเทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ และการออกแบบเว็บไซต์ในปัจจุบัน ที่มีลักษณะส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล การพัฒนาในด้านแนวความคิดและการออกแบบ รวมถึงการร่วมสร้างข้อมูลในโลกของอินเทอร์เน็ต แนวคิดเหล่านี้นำไปสู่การพัฒนาและการปฏิวัติรูปแบบเทคโนโลยีที่นำไปสู่เว็บเซอร์วิสหลายอย่าง เช่น บล็อก เครือข่ายสังคมออนไลน์ วิกิ
    Web 2.0 เปรียบเหมือนธุรกิจ ซึ่งเว็บกลายเป็นแพลตฟอร์มหนึ่ง ที่อยู่เหนือการใช้งานของซอฟต์แวร์ โดยไม่ยึดติดกับตัวซอฟต์แวร์เหมือนระบบคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา โดยมีข้อมูล ที่เกิดจากผู้ใช้หลายคน (ตัวอย่างเช่น บล็อก) เป็นตัวผลักดันความสำเร็จของเว็บไซต์อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเว็บไซต์ในปัจจุบันมีลักษณะการสร้างโดยผู้ใช้ที่อิสระ และแยกจากกัน ภายใต้ซอฟต์แวร์ตัวเดียวกัน เพื่อสรรค์สร้างระบบให้ก่อเกิดประโยชน์ในองค์รวม 
ระดับของ Web 2.0 ออกเป็นสี่ระดับ ดังนี้

  • ระดับ 3 - ระดับของการใช้งานจากผู้ใช้ทั่วไปในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสารของมนุษย์ภายใต้เว็บไซต์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น Wikipedia Skype E-bay Craigslist
  • ระดับ 2 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านอินเทอร์เน็ต แต่เมื่อนำมาใช้งานออนไลน์ นั้น จะมีประโยชน์มากขึ้นจากการเชื่อมโยงผู้ใช้งานเข้าด้วยกัน ซึ่ง Tim O’Reilly ยกตัวอย่างเว็บไซต์ Flickr เว็บไซต์อัปโหลดภาพที่มีการใช้งานเชื่อมโยงระหว่างภาพ และเช่นเดียวกันระหว่างผู้ใช้งาน
  • ระดับ 1 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านอินเทอร์เน็ต แต่มีความสามารถเพิ่มขึ้นมีนำมาใช้งานออนไลน์ ตัวอย่างเช่น Google Docs และ iTunes
  • ระดับ 0 - ระดับที่สามารถใช้งานได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น Mapquest และ Google Maps
บทบาทห้องสมุด
ที่มาของแนวคิดห้องสมุด 2.0
- พฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยน พัฒนาการ IT
- “กฎของพาเรโต” (Pareto Principle) /"80/20 rule"
- เศรษฐศาสตร์หางแถว(ยาว)(The Long Tail)
- เทคโนโลยี Web 2.0
- Lib 2.0

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การตลาดบริการของห้องสมุด

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (16/08/2011)

เรื่อง : การตลาดบริการของห้องสมุด


การตลาด(Marketing) หมายถึงกิจกรรมทางธุรกิจที่ทำให้สินค้าและบริการผ่านจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายสินค้าระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อสนองตอบความต้องการ อีกทั้งความจำเป็น และทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจและขณะเดียวกัน ก็บรรลุวัตถุประสงค์ ของกิจการ ด้วย นอกจากนี้ยังหมายถึงกลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่มีความจำเป็นและความต้องการ (Needs and Wants) ในผลิตภัณฑ์ มีความเต็มใจมีความสามารถในการแลกเปลี่ยน และมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ เพื่อให้ได้รับความพอใจของตน
คำจำกัดความที่สำคัญของการตลาด
1. ความจำเป็น (Needs, wants, demands)
เป็นอำนาจพื้นฐานที่กระตุ้นให้บุคคลเกิดความต้องการในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อมาตอบสนองในสิ่งที่ขาดหายไป แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
 - Physical needs คือ ความต้องการทางร่างกาย เช่น ปัจจัย 4 (อาหาร ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ยารักษาโรค) ความอบอุ่น ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
 - Social needs คือ ความต้องการทางสังคม เช่น การยอมรับ ความรักจากคนรอบข้าง
 - Individual needs คือ ความต้องการส่วนบุคคลซึ่งแตกต่างกัน เช่น ความต้องการศึกษาหาความรู้ การแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเอง

2. ความต้องการ  (Wants)
คือ สิ่งที่สามารถตอบสนอง Need ได้ ซึ่งความต้องการของคนแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม สังคม และบุคลิกภาพส่วนบุคคล เป็นความปรารถนาเพิ่มเติมนอกเหนือจากความจำเป็น
3.  ความต้องการซื้อ (Demands)
เป็นความต้องการในรูปของอำนาจในการซื้อ เนื่องจากมนุษย์มีความต้องการไม่จำกัด แต่มีเงินจำกัด เพราะฉะนั้นจึงต้องเลือกซื้อเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและสามารถตอบสนองหรือสร้างความพึงพอใจสูงสุด
การจัดการตลาด
   หมายถึง กระบวนการวางแผนและปฏิบัติโดยอาศัยแนวคิด การกำหนดราคาสินค้า การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่สามารถสนองความต้องการของบุคคล และบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร การจัดการตลาดจะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายหนึ่งใช้วิธีการต่า่งๆเพื่อตอบสนองความต้องการของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ระหว่างผู้ขายสินค้าและลุกค้า
จุดมุ่งหมายของการตลาด
   คือ ให้รู้จักและเข้าใจลูกค้าเป็นอย่างดี เพื่อสามารถจัดสินค้าและบริการที่เหมาะสม การตลาดมักจะเกิดผลกับลูกค้าที่พร้อมจะซื้อหรือมีอำนาจซื้อ ดังนั้นสินค้าและบริการจึงต้องมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา
การวางแผนการตลาดขององค์กร

แผนการตลาด (Marketing Plan)
   คือ การกำหนดทิศทางและแนวทางในการทุ่มเทความพยายามทางการตลาด ตลอดจนกลไกในการตรวจสอบและประเมินผลกิจกรรมทางการตลาดไว้ล่วงหน้าโดยใช้ประโยชน์จากความเข้าใจที่ได้รับจากการวิเคราะห์สถานการณ์มาพิจารณาร่วมกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจที่กำหนดไว้ ขั้นตอนในการวางแผนการตลาดมีดังต่อไปนี้
การวิเคราะห์สถานการณ์ (situation analysis) หมายถึง การสำรวจโปรแกรมการตลาดในปัจจุบันของบริษัทเพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมการตลาดในอนาคตควรจะเป็นอย่างไร รวมทั้งต้องวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายใน (ส่วนประสมทางการตลาด หรือปัจจัยทางการตลาด และสิ่งแวดล้อมภายในอื่นนอกเหนือจากปัจจัยทางการตลาด) และสิ่งแวดล้อมภายนอก (สิ่งแวดล้อมจุลภาคและสิ่งแวดล้อมมหภาค) ที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด
การพิจารณาวัตถุประสงค์ทางการตลาด (determine the marketing objective) เป็นการกำหนดเป้าหมายทางการตลาดซึ่งต้องเป็นจริง มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและวัดได้
การเลือกตลาดเป้าหมายและวัดความต้องการซื้อของตลาด (select and measure target market) เป็นการวิเคราะห์ตลาดในปัจจุบัน เพื่อหาโอกาสในตลาดที่คาดหวัง (potential market) แล้วเลือกตลาดที่ธุรกิจมีความสามารถที่จะตอบสนองความพอใจในตลาด

ความร่วมมือในการวางแผนของบุคลากรภายในองค์กร

ความสำคัญของแผนการตลาด
   แผนการตลาดมีความสำคัญ คือ จะให้รายละเอียดของการเริ่มต้นธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการมีเป้าหมายที่ชัดเจนกำหนดแนวทางของความคิดและช่วยประมาณการใช้ทรัพยากรและกำลังความพยายามเพื่อไปสู่เป้าหมาย นอกจากนี้แผนการตลาดมีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้พนักงานภายในองค์กรมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน มีแนวทางในการตัดสินใจและดำเนินงาน
   นอกจากนี้ แผนการตลาดยังสำคัญในฐานะที่เป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่ให้รายละเอียดของกิจกรรมต่างๆทั้งกิจกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการกำหนดราคาสินค้า กิจกรรมการจัดจำหน่าย หรือการกระจายสินค้า และอื่นๆในการบริหารกิจการ และยังใช้เพื่อกำหนดการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องในอนาคตของกิจการอีกด้วย และแผนการตลาดมีความสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินงานธุรกิจ

การตลาดการบริการสารนิเทศธุรกิจ
   การตลาดระบบสารนิเทศ หมายถึง การผสมผสานววิธีการตลาดเชิงสังคมและการตลาดเชิงธุรกิจเข้าด้วยกัน กล่าวคือ ผู้ใช้สารนิเทศได้รับสารนิเทศ หรือ บริการสารนิเทศตามความต้องการ เพราะผู้ให้บริการได้ศึกษาความต้องการของผู้ใช้สารนิเทศและพยายามจัดหาสารนิเทศเพื่อให้บริการโดยสามารถสนองความต้องการให้ผู้ใช้สารนิเทศมีความพอใจเห็นคุณค่าสารนิเทศและใช้สารนิเทศมากขึ้น
 
การตลาดเชิงออนไลน์

สารนิเทศในรูปฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
   หมายถึง ผลิตภัณฑ์สารนิเทศที่บันทึกลงในสื่อคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ข้อมูลบรรณานุกรมจากดรรชนีวารสาร และสาระสังเขปสาขาวิชาต่างๆจากพจนานุกรม สารานุกรม นามานุกรมและรายงานสถิติ การใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องพิมพ์ เครื่องอ่านซีดี-รอม เป็นต้น
องค์ประกอบ 4 ประการของวิธีการตลาด
1. ผลิตภัณฑ์ หมายถึง สินค้าหรือบริการที่ผู้ผลิตจัดทำขึ้น ผลิตภัณฑ์สารนิเทศ ได้แก่ บริการสารสนเทศสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุและสื่อในรูปฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์สารนิเทศดังกล่าวคือ สินค้าที่ผลิตเพื่อจำหน่ายผู้ให้บริการสารนิเทศใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเพื่อการบริการแก่ผู้มาใช้ห้องสมุด บริการสารนิเทศจึงประกอบด้วยบริการซึ่งผู้บริโภคได้รับผลิตภัณฑ์พร้อมกับการบริการ
2. ราคา หมายถึง ราคาผลิตภัณฑ์หรือบริการสารนิเทศที่ผู้จำหน่ายกำหนดขึ้น ควรกำหนดราคาที่มีความเหมาะสม มีเหตุผลให้สมกับคุณค่าหรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ
3. สถานที่ หมายถึง ที่ตั้งของสถาบันบริการสารสนเทศ ซึ่งควรอยู่ในทำเลที่ติดต่อสะดวก อาจเป็นย่านชุมชน หรือศูนย์การค้าซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการให้บริการ
4. การส่งเสริมการขาย หมายถึง การคิดวิธีการจูงใจให้มีผู้ใช้สารนิเทศมากขึ้น โดยใช้วิธีการเดียวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ทั่วไป ผู้ให้บริการสารนิเทศจะต้องประชาสัมพันธ์ แนะนำให้ผู้บริโภคเห็นคุณประโยชน์และหันมาใช้สารนิเทศและบริการสารนิเทศมากขึ้น


ส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps)
1. ผลิตภัณฑ์ (Product) หมายถึง ข้อเสนอทั้งหมด ที่เรามีให้ผู้ใช้ ซึ่งประกอบด้วยสองส่วนย่อย คือ ผลิตภัณฑ์หลัก หมายถึง สิ่งที่ผู้ใช้ต้องการ และผลิตภัณฑ์เสริม ซึ่งเป็นข้อเสนออื่นๆที่เรามอบให้ผู้ใช้
2. ราคา (Price) ราคาเป็นเครื่องมือทางด้านการตลาดที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของกิจการบริการ ราคามีผลต่อผู้ใช้ในเรื่องคุณค่าและคุณภาพของการบริการ การกำหนดราคาผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของกิจการ ต้นทุนของกิจการ ขีดความสามารถในการให้บริการ สภาพการแข่งขันและสภาวะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
3. สถานที่จัดจำหน่ายบริการ (Place) ผู้บริหารสถาบันสารสนเทศจะต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการคือ การเข้าถึงบริการได้ หมายถึงความสะดวกสบายในการเข้ารับบริการของผู้ใช้ และความพร้อมที่จะให้บริการได้ ซึ่งเกี่ยวกับระดับความพร้อมของกิจการในการให้บริการแก่ผู้ใช้ ดังนั้นแหล่งสารสนเทศจึงควรเลือกรูปแบบการนำเสนอบริการที่ให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้มากที่สุด
4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion) การส่งเสริมการตลาดมีบทบาทที่สำคัญ 3 ประการในการสื่อสารกับลูกค้าคือ การให้ข้อมูลแก่ลูกค้า การชักจูงใจให้ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์ของกิจการ และการเตือนความทรงจำของลูกค้า ส่วนเครื่องมือที่สำคัญในการส่งเสริมการตลาด ได้แก่ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย และการประชาสัมพันธ์
5. บุคคล (People) หมายถึง บุคคลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอบริการแก่ผู้ใช้ นับรวมทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ผู้บริหารด้านการตลาดของแหล่งสารสนเทศจะต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้าง "จิตสำนึกในการให้บริการ"
6. กระบวนการ (Process) กระบวนการ หมายถึงขั้นตอน วิธีการ และกิจกรรมต่างๆในการนำเสนอบริการ ผู้บริหารจะต้องพิจารณาหาจุดที่เหมาะสมระหว่างการลดความแตกต่างในกระบวนการให้บริการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตบริการและการดำเนินงาน
7. หลักฐานทางกายภาพ (Physical Evidence) หมายถึง สิ่งที่เป็นรูปธรรมต่างๆ ที่สามารถมองเห็นได้หรือรับรู้ได้ ทำหน้าที่สื่อสารถึงตำแหน่งและคุณภาพของการบริการ ได้แก่ สภาพแวดล้อมของสถานที่ที่ให้บริการ บุคลากรที่ให้บริการ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมการตอบสนองของบุคคล

การประชาสัมพันธ์งานของห้องสมุด

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (29/07/2011)


เรื่อง : การประชาสัมพันธ์งานของห้องสมุด

การประชาสัมพันธ์  หมายถึง การจัดการขององค์การเพื่อสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้รับข่าวสารกลุ่มต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดเห็น (Opinion) ทัศนคติ (Attitude) และค่านิยม (Value) หรือเป็นการติดต่อสื่อสารกับชุมชนทั้งภายในภายนอกเพื่อสร้างภาพพจน์ขององค์กรกับสาธารณชน การประชาสัมพันธ์เป็นหน้าที่ในการบริหารที่ช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ กำหนดปรัชญาและทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ เนื่องจากนักประชาสัมพันธ์จะต้องสื่อสารกันทั้งในกลุ่มภายในองค์การและภายนอกองค์การเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งจะก่อให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างเป้าหมายขององค์การ และความคาดหวังของสังคม 
การประชาสัมพันธ์ คือ การสร้างความเข้าใจอันดี โดยใช้สื่อทุกรูปแบบ เพื่อสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ การประชาสัมพันธ์จะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง โดยยึดหลักความจริงเป็นหลัก 
วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ มี 3 ประการคือ
          1. ป้องกันชื่อเสียงมิให้เสื่อมเสีย ทั้งนี้หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องประชาสัมพันธ์เชิงรุก โดยเผยแพร่ผลงาน ชี้แจงเหตุผลในการดำเนินการต่าง ๆ ทั้งก่อน ระหว่างหรือภายหลังดำเนิน การโครงการต่าง ๆ

          2. ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี ในการดำเนินการประชาสัมพันธ์จะต้องคำนึงถึง การเกิด ความเข้าใจอันดีระหว่างกันและกัน
          3. แก้ไขความผิดพลดหรือกฎระเบียบต่างๆ ปัญหาความไม่เข้าใจกันอย่างหนึ่งคือ ระบบราชการมักจะอ้างกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ จึงทำให้การปฏิบัติงานขาดความรวดเร็วไม ่ทันการ จึงเป็น
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดเสมอ ฉะนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแก้ไข กฎระเบียบต่าง ๆ

ความสำคัญของสื่อที่ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์
   สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์มีความสำคัญ คือ
          1. เพื่อการถ่ายทอดหรือบอกข่าวสารให้แก่ประชาชนได้รับทราบ
          2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
          3. เพื่อเป็นการสร้างความนิยมและภาพพจน์ที่ดีขององค์กร
ดังนั้นจึงจำเป็นที่องค์การต้องให้ความสนใจต่อการทำความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสาธารณชนโดยผ่านสื่อต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สาธารณชนมีทัศนคติ ความเชื่อหรือมุมมองที่ดีต่อองค์การ อันจะส่งผลต่อการดำเนินงานอย่างราบรื่นในระยะยาวขององค์การ
กระบวนการประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 
      1. การศึกษาสำรวจวิจัย เป็นขั้นตอนแรกของการประชาสัมพันธ์กล่าวคือการจะดำเนินการต่างๆ จะต้องศึกษา สำรวจ วิจัย ปัญหา ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ ประชาชน ชุมชน หน่วยงานต่างๆ ว่ามีแนวคิดเกี่ยวกับงาน คน หน่วยงานต่างๆ ของเราในทางบวก ทางลบอย่างไร ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูล ในการดำเนินการขั้นต่อไป
        2. การวางแผน เมื่อทราบปัญหา ทัศนคติต่างๆ แล้ว จะต้องมีการวางแผนว่าจะดำเนินการ รณรงค์อย่างไร เช่น วัน เวลา สถานที่ดำเนินการ กิจกรรมการใช้วัสดุ อุปกรณ์ กำลังคน งบประมาณ ฯลฯ เพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพเป็นไปตามวัตถุประสงค์
       3. การดำเนินการ เป็นขั้นตอนในการใช้สื่อ ช่องทางการประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสม เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การนำชมสถานที่ จัดหน่วยประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ เผยแพร่ข่าว กิจกรรม ผ่านสื่อมวลชนต่างๆ ฯลฯ
     4. การประเมินผล สามารถประเมินผลการดำเนินงานได้ตลอดเวลาทั้งก่อนดำเนินการ ในระหว่างดำเนินงาน หรือสิ้นสุดโครงการแล้ว ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมนั้นประสบผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ดีที่สุด
องค์ประกอบของการสื่อสาร    การติดต่อสื่อสารมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ผู้ส่งสาร (Source)จะต้อง 
             1.1  มีความรู้ คือจะต้องรู้เรื่อง -การประชาสัมพันธ์และมีทักษะ ประสบการณ์การสื่อสาร ถ่ายทอดพอสมควร -บทบาท หน้าที่ ภารกิจหน่วยงานของเรา -หน้าที่หลัก หน้าที่รอง ของเรา -งานที่เราจะไปดำเนินการ และสภาพชุมชน แวดล้อมต่างๆ 
             1.2  มีความเข้าใจ คือจะต้องเข้าใจ -จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ในการดำเนินงาน -เจ้าหน้าที่ทุกคนในหน่วยงานมีความเข้าใจ สามารถอธิบาย ชี้แจง โต้ตอบได้ และมีเป้าหมายการทำงานอันเดียวกัน -ขีดจำกัดในการดำเนินงาน เช่น กำลังคน งบประมาณ กฎระเบียบ ฯลฯ 
2.  เนื้อหา (Message)จะต้อง 
                 -ศึกษา ค้นคว้า เนื้อหาสาระให้แม่นยำ สามารถอ้างอิงได้
                 -สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ 
                 -สามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานกับหน่วยงานอื่น
3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel) มีมากมาย เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ การแข่งขัน การประกวด การพาชมสถานที่ การจัดหน่วยชุมชนสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งการจะใช้ ช่องทางใดในการสื่อสารนั้น ควรคำนึงถึ
                     3.1 ความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ชุมชน ผู้คน 
                     3.2 การรับรู้ ความเข้าใจของผู้คน 
                     3.3 ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การเกิดประโยชน์สูงสุดและประหยัด
4. ผู้รับสาร (Receiver) มีความสำคัญที่สุดเนื่องจากเป็นจุดสุดท้ายในการสื่อสาร ซึ่งสามารถประเมินผลได้ว่า  การประชาสัมพันธ์นั้นประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่
กลุ่มสาธารณชน (Public)
จากความหมายของการประชาสัมพันธ์ จะเห็นว่าการประชาสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณชน (Public) สาธารณชนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
     1.             สาธารณชนภายใน (Internal public) คือ สาธารณชนที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การโดยตรง เช่น พนักงาน หรือลูกค้าขององค์การ ซึ่งองค์การในที่นี้อาจเป็นบริษัท รัฐบาล องค์การไม่แสวงหาผลกำไรหรือสถาบันใดๆ กิจกรรมในการประชาสัมพันธ์จะดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องให้สาธารณชนภายในมีความเข้าใจและสนับสนุนในกิจกรรมเหล่านั้นด้วย ดังนั้นกิจกรรมประชาสัมพันธ์สำหรับสาธารณชนภายใน คือ การให้สาธารณชนเหล่านี้ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร นโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ รวมถึงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ ขององค์การ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์การ
      2.             สาธารณชนภายนอก (External public) คือ   สาธารณชนที่อยู่ภายนอกองค์การซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การ แต่มีอิทธิพลและมีผลกระทบต่อการดำเนินการต่างๆขององค์การ ดังนั้นกิจกรรมในการประชาสัมพันธ์เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจกับสาธารณชนเหล่านี้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ขององค์การด้วยดี เป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานชื่อเสียงขององค์การให้สาธารณชนเหล่านี้ได้เข้าใจถึงเจตนารมย์ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ขององค์การ รวมถึงการสร้างทัศนคติที่ดีต่อองค์การ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ 
ลักษณะของการประชาสัมพันธ์
ลักษณะของการประชาสัมพันธ์มีดังต่อไปนี้
1.             การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารสองทาง (Two-way communication) เป็นการสื่อสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับเกี่ยวกับข่าวสารขององค์การที่ต้องการสื่อสารให้สาธารณชนรับทราบ และเข้าใจ และยังเป็นการสื่อสารย้อนกลับจากผู้รับ คือ สาธารณชน ไปยังองค์การเกี่ยวกับความคิดเห็นที่เกี่ยวกับองค์การ
2.             การประชาสัมพันธ์อาจมีกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม (Multiple target group) เช่น พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ชุมชน รัฐบาล หรือหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุระสงคในการประชาสัมพันธ์ว่าต้องการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายใดบ้าง
3.             การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ   ทั้งนี้การประชาสัมพันธ์ต้องตั้งอยู่บนหลักความจริงเพื่อมุ่งให้เกิดความเชื่อถือและปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจ
4.             การประชาสัมพันธ์เป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยคาดหวังผลต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อให้สาธารณชนมีความศรัทธาและมีความไว้เนื้อเชื่อใจต่อองค์การเพื่อให้องค์การสามารถดำเนินกิจการอยู่ในระยะยาวได้
5.             การประชาสัมพันธ์เป็นการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยจะมีการวางแผน ควบคุม และประเมินผลของการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมแนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร



ภาพลักษณ์  (Image)   หมายถึง     ภาพที่เกิดขึ้นในจิตใจของบุคคลตามความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อองค์การ สถาบัน บุคคล หรือการดำเนินงานภาพที่เกิดขึ้นในจิตใจนี้อาจจะเป็นผลมาจาก  การได้รับประสบการณ์โดยตรงหรือประสบการณ์ทางอ้อมที่บุคคลนั้นรับรู้มา
"ภาพลักษณ์องค์การ" (Corporate Image)   หมายถึง ภาพรวมทั้งหมดขององค์การที่บุคคลรับรู้จากประสบการณ์ หรือมีความรู้ความประทับใจ ตลอดจนความรู้สึกที่มีต่อหน่วยงานหรือสถาบันโดยการกระทำหรือพฤติกรรมองค์การ การบริหาร ผลิตภัณฑ์การบริหาร และการประชาสัมพันธ์  จะเข้ามามีบทบาทต่อภาพลักษณ์องค์การด้วย
 ภาพลักษณ์องค์การมีความสำคัญ สามารถทำให้สถาบัน หน่วยงานมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ    เชื่อถือศรัทธาจากบุคคลที่เกี่ยวข้องและจะทำให้องค์การหน่วยงานสถาบันนั้น ๆ มีความเจริญก้าวหน้าได้


วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การเล่าเรื่องหนังสือ (Book talk)

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (26/07/2011)

เรื่อง : กิจกรรมห้องสมุด

การเล่าเรื่องหนังสือ (Book talk) คือ เป็นการนำหนังสือมาพูดเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจหนังสือเรื่องนั้นๆ โดยเลือกจุดเด่นของหนังสือมาเล่า พร้อมทั้งมีหนังสือมาแสดงให้ผู้ฟังดูขณะกำลังเล่าด้วย เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ชัดเจนและเป็นการกระตุ้นให้ผู้ฟังสนใจและอยากติดตามหนังสือเรื่งนั้นมากยิ่งขึ้น


การเล่าเรื่องหนังสือ

การเตรียมการและวิธีการเล่าเรื่องหนังสือ
1) เลือกหนังสือที่เป็นเรื่องที่น่าสนใจ
2) พิจารณาจำนวนผู้ฟัง ระหว่างเด็กหญิงและเด็กชาย เพราะระหว่างเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงจะมีความสนใจในเรื่องที่แตกต่างกัน หรืออาจมีความสนใจร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การทำให้ผู้ฟังสนใจในเรื่องของหนังสือที่อ่านหรือนำมาเล่าจะทำให้เป็นการส่งเสริมการค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมให้แก่ผู้ฟัง
3) พิจารณาภูมิหลังของกลุ่มผู้ฟัง
4) จัดหัวข้อเรื่องที่จะเล่าและกำหนดจำนวนหนังสือที่จะนำมาเล่าในหัวข้อนั้นๆ
5) กำหนดเวลาในการเล่า การใช้เวลาในการเล่าเรื่องหนังสือนั้นจะใช้เวลาในการเล่าประมาณ 30 นาที ซึ่ง 20 นาทีแรกจะเป็นการเล่าเรื่องราวในหนังสือ ส่วนอีก 10 นาที หลังจากเล่าเรื่องหนังสือเสร็จจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ซักถามข้อสงสัยกับผู้เล่าหรือเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแสดงทัศนคติของผู้ฟังกับผู้เล่า
6) ทำโน๊ตเกี่ยวกับเรื่องที่จะพูดหรือทำโครงเรื่องก่อนที่จะพูด
7) การใช้วิธีการอ่าน เช่น อ่านโคลง/กลอน ความเรียงเรื่องที่ใช้ภาษาที่ไพเราะ สละสลวย

การวิจารณ์หนังสือ (Book review) การวิจารณ์หนังสือเป็นการพิจารณาหนังสือเกี่ยวกับลักษณะการเขียนเนื้อหาว่ามีข้อดีเด่น ประทับใจ หรือให้ความรู้ ข้อคิดในเรื่องใด มีข้อบกพร่องหรือจุดอ่อนอยู่ในวิธีเขียนหรือเนื้อหาสาระของเรื่องในตอนใดบ้าง เป็นกิจกรรมที่บรรณารักษ์ห้องสมุดได้จัดขึ้น แต่บรรณารักษ์ไม่จำเป็นต้องวิจารณ์หนังสือเอง อาจจะมีการเชิญวิทยากรที่มีความรู้ ความชำนาญในการวิจารณ์หนังสือหรือเป็นบุคคลที่เป็นที่สนใจของผู้ฟังมาวิจารณ์หนังสือให้กับผู้ใช้ในห้องสมุดฟัง การวิจารณ์หนังสือจึงเป็นการส่งเสริมการอ่านให้แก่ผู้ใช้ เพราะการวิจารณ์หนังสือนั้นจะทำให้ผู้ใช้ทราบว่าหนังสือเล่มนั้นมีเนื้อหาดีหรือไม่อย่างไรหรือมีความน่าสนใจควรอ่านมากน้อยแค่ไหน


การวิจารณ์หนังสือโดยวิทยากร
จุดประสงค์ของการจัดวิจารณ์หนังสือในห้องสมุด
1) ส่งเสริมให้มีการอ่านหนังสือที่มีคุณค่ามากขึ้น
2) ส่งเสริมให้มีวิจารณญาณในการอ่าน
3) เป็นการแนะนำหนังสือดีที่ควรอ่าน
ลักษณะของนักวิจารณ์หนังสือที่ดี
1) เป็นนักอ่านหรือชอบอ่านหนังสืออย่างมีวิจารณญาณ
2) เป็นผู้พยายามศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องของหนังสือวิธีการวิจารณ์
3) ควรได้ศึกษาชีวิตและงานของนักเขียน ทัศนคติที่ปรากฎเด่นในงานประพันธ์ ลีลาการเขียนและการศึกษาผลงานอื่นๆของผู้เขียนด้วย
4) มีความสามารถในการอ่านและมีวิจารณญาณอันดี
5) มีใจเป็นกลาง ปราศจากอคติ

การจัดนิทรรศการ (Library display)
   นิทรรศการ คือ การแสดงการให้การศึกษาอย่างหนึ่งด้วยการแสดงงานให้ชม อาจมีผู้บรรยายให้ฟังหรือไม่มีก็ได้ จะใช้สถานที่ในอาคารหรือนอกอาคารก็ได้ การจัดนิทรรศการจะต้องมีการจัดอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ดูง่าย คำนึงถึงความแจ่มชัด และก่อให้เกิดความรู้


การจัดนิทรรศการของห้องสมุด

วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการของห้องสมุด
1) กระตุ้นให้เกิดความสนใจหนังสือ การอ่าน
2) แสดงให้ผู้ใช้ทราบว่า บริการของห้องสมุดและทรัพยากรห้องสมุดจะช่วยคนในชุมชนอย่างไร
3) เป็นการแจ้งข่าวสารความเคลื่อนไหวของห้องสมุดและเหตุการณ์ความเป็นไปของโลกภายนอกให้ผู้ใช้ทราบ
4) เชิญชวนให้ผู้ใช้เข้าห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น
5) เพื่อจัดบรรยากาศในห้องสมุดให้สดใส สวยงาม สบายตา น่าเข้าไปนั่งอ่าหนังสือและเป็นที่ศึกษาหาความรู้มากยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Library Trend

 เรื่อง :  Library Trend 
 
Library Trend ถือได้ว่าเป็นบริการสารสนเทศในรูปแบบใหม่ หรือเรียกได้ว่าเป็น New service ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 7 ประเภทดังต่อไปนี้
1) Could computing กล่าวคือ ในปัจจุบันการบริการของห้องสมุดทั้งหมดจะเปลี่ยนไปเป็นในรูปแบบ Could computing ซึ่งเป็นรูปแบบ On line เป็นกระบวนการที่ไม่รู้ว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นจะไปปรากฎอยู่ที่ไหนบนอินเทอร์เน็ต แต่รู้ว่ามีข้อมูลนั้นอยู่ หรืออาจเรียกได้ว่า ไม่ทราบที่ตั้งของข้อมูลที่จัดเก็บ ไม่รู้แหล่งที่ตั้งของ Server แต่มีอีกแนวคิดหนึ่งคือ เรียกว่า ที่ตั้ง,กลุ่มก้อน คือ เครื่องที่เป็น server มีตั้งกระจายอยู่ทั่วไปไม่ได้มีเพียง server เดียว ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จะตั้ง  server  ที่ไหนก็ได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่า server อยู่ที่ไหน เพราะมีอยู่ทั่วไปหรือมีอยู่ทั่วโลก
OCLC มีหลักการณ์คือ The World's Library Connected เป็นหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับห้องสมุดโดยจะทำให้ห้องสมุดแต่ละแห่งเชื่อมโยงเข้าหากันโดยใช้ชื่อ Cloud ILS และ Cloud OPAC ซึ่งห้องสมุดในปัจจุบันที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นไม่จำเป็นต้องไปซื้อ  Server OPAC หรือ Software เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณมาก แต่ควรจะเข้าร่วมหรือเช่าพื้นที่ใน OCLC เพราะสามารถเชื่อมต่อกับห้องสมุดอื่นได้อีกหลายแห่ง ทำให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานมากยิา่งขึ้น
Could computing แยกตามกลุ่มผู้ใช้
   - Could ระดับองค์กร เช่น Could library
   - Could ระดับบุคคล เช่น การให้บริการบนอินเทอร์เน็ต Gmail,Facebook,Meebo
   - Could ผสม เช่น หอสมุดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการใช้ Could ผสม
Could computing แยกตามการใช้บริการ
   - Public Could  เป็น Could ที่ใช้แบบสาธารณะ เช่น Facebook,Gmail
   - Private Could เป็น Could แบบส่วนตัว เช่น รูปแบบการใช้ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
   - Hybrid Could เป็นการรวมทั้งระดับองค์กรและระดับส่วนตัวเข้าไว้ด้วยกัน
Could computing แยกตามประเภทเทคโนโลยี
   - SaaS (Software as a Service) เช่น Googledoc
      www.zoho.com มีระบบงาน Business เช่น ระบบการเงิน คือ ต้องเสียเงินตามระบบการใช้งาน
      Docs.google.com เป็นบริการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการพิมพ์งาน เอ็กเซลล์ หรือการทำแบบสำรวจ 
   - IaaS (Infrestructure as a Service) 
   - PaaS (Platform as a Service)  
     เป็นรูปแบบที่จะต้องทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง (Access) ข้อมูลได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
2) Mobile Device การเข้าสู่  Mobile Device ควรจะต้องรู้จักกลุ่มผู้ใช้และรู้พฤติกรรมการใช้ของผู้ใช้อาจจะต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมการใช้ของผู้ใช้จาก truehits.net และจะต้องดูข้อมูลพฤติกรรมการใช้ Mobile ของผู้ใช้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและนำข้อมูลเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นความแตกต่างแล้วเลือกข้อมูลที่ใกล้กับความเป็นจริงมากที่สุดมาจัดบริการเพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
Mobile แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. Smart Phone เช่น Sum sung Java Debian เป็นกลุ่มที่มีระบบปฏิบัติการในมือถือ
2. Tablet เช่น Android
3. eReader เช่น ios iPad
4. Netbook เช่น Windows เป็นคอมที่ไร้สาย
แต่ iPad มีข้อด้อย คือ ไม่สามารถใช้ Flash ได้ ไม่สามารถโชว์ภาพใน Flash ได้  
3) Digital content & Plubishing (ebook,IR,Digital Library,OJS)  เกิดขึ้นเนื่องจากองคืกรในโลกนี้มีงบประมาณหรือเงินสนับสนุนลดน้อยลง ไม่สามารจ้างคนทำงานเพิ่มได้ ส่วนคนที่ทำงานอยู่แล้วก็ต้องทำงานหนักเพิ่มมากขึ้น หลายห้องสมุดไม่สามารถจะซื้อวารสารเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากงบประมาณที่มีอยู่นั้นค่อนข้างจำกัด จึงทำให้มีการสร้าง Content ขึ้นเองเพื่อใช้ภายในห้องสมุดซึ่งจัดทำโดยอาจารย์ในมหาวิทยาลัยโดยร่วมมือกันจัดทำบทความวิชาการในด้านต่างๆขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งความรู้ภายในห้องสมุด
กระบวนการขั้นตอนของการจัดทำ ebook
1. การได้มาของเนื้อหา 
2. กระบวนการผลิตและรูปแบบ
3. ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับและการเผยแพร่
    - ลิขสิทธิ์ของต้นฉบับ
    - ลิขสิทธิ์ของการเผยแพร่ 
รูปแบบของ ebook  
-  .doc
-  .pdf
-  Flip ebook
-  Flash Flip ebook สามารถโชว์ Flash บนเว็บได้
-  ePublishing สามารถใช้บน Smart Phone หรือ ipad ได้
- .ePub เป็นนามสกุลไฟล์ของเอกสาร เป็นมาตรฐานหรือนามสกุลไฟล์ใหม่ๆของเอกสาร
- Digital Multimedia Book ซึ่งหากคลิกที่รูปภาพ สามารถเปิดเป็น VDO ได้ หากคลิกที่รูปภาพอาจจะมีการเชื่อมโยงลิงค์กับรูปภาพ เช่น เกิดการเคลื่อนไหว หรือลิงค์ไปยัง VDO 
4) Crosswalk Metadata เป็นการผสมรวมกันระหว่าง metadata มากกว่า 1 รูปแบบ
ตัวอย่างรูปแบบของ Metadata แต่ละประเภท
-  Marc
-  MarcML เป็นเมตาดาตารูปแบบใหม่ จะไม่มี Subfild แต่จะเป็นรูปแบบของโปรแกรม จะไม่ใช้สัญลักษ์เป็นตัวคั่นแต่ละเขตข้อมูลแต่จะแทนสัญลักษณ์ด้วยคำ
-  Dublin Core
-  ISAD (g) เป็นระบบที่จัดทำจดหมายเหตุ Digital
-  CDWA เป็นระบบที่จัดทำเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์
-  RFD,OWL ใช้ทำ web 3.0 หรือ Semantic 
-  MODS,METS เป็นชุดเดียวกับ Dublin Core แต่มี element มากกว่า
-  PDF Metadata
-  DOC Metadata
-  Exif,XMP,IPTC เป็นมาตรฐานของภาพถ่ายดิจิทัล
5) Open Technology
-  Z39.5 เป็นยุคแรกของห้องสมุด ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ
ผ่าน Ils ห้องสมุดไม่จำเป็นต้อง Catalog เอง แต่โปรแกรมจะดูดข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือมาให้เองโดยอัตโนมัติ
-  Z39.88 เป็นโปรแกรมที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ช่วยในการให้ข้อมูลบรรณานุกรมและการอ้างอิงแหล่งที่มาของทรัพยากรสารสนเทศ 
- OAI-PMH หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า One Search คือ การค้นหาข้อมูลบนเว็บโดยแค่เพียงเปิดหน้าเว็บนั้นๆเพียงครั้งเดียวก็มีข้อมูลหรือลิงค์ต่างๆที่เกี่ยวข้องปรากฎให้ครบถ้วน โดยที่ไม่ต้องเปิดหน้าเว็บเพจหลายครั้ง และต้องมีการแจกแจงรายละเอียดว่าข้อมูลที่ได้หรือผลลัพธ์ที่ได้มานั้นได้มาจากแหล่งใดและใครเป็นผู้จัดทำบ้าง นอกจากนี้ ยังต้องสามารถเชื่อโยงไปยังลิงค์ของข้อมูลอื่นๆได้และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องอยู่ในรูปแบบ Visual ร่วมด้วย ไม่ใช่แค่ในรูปแบบ text เท่านั้น 
- Link Data เช่น Web 3.0 แบ่งออกเป็นดังนี้
1. Web 1.0 คือ ให้สิทธิคนใดคนหนึ่งดูแลเว็บไซด์ ผู้ใช้สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว
2. Web 2.0 คือ ผู้ใช้ทุกคนสามารถสร้างเว็บของตนเองได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3. Web 3.0 คือ Semantic  คือ หากค้นข้อมูลหรือพิมพ์คำถามลงในช่อง search หรือการป้อนคำค้นเป็นประโยคลงในช่องค้นหา จะปรากฎข้อมูลหรือคำตอบที่ต้องการขึ้นมาให้ ถือว่าเป็นเว็บเชิงความหมาย
-  Metadata
-  Bibliography
6) Data & Information Mining/ Visualization เวลาผู้ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องไม่มีแค่ text เท่านั้น จะต้องมีในรูปแบบสื่อประสมด้วยหรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งการค้นหาข้อมูลแต่ละครั้งจะต้องทำดังต่อไปนี้
1. Search
2. ทำการวิเคราะห์
3. แดงผลเป็นเส้นโยงความสัมพันธ์
7) Green Libary  เกิดขึ้นมาจากสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (Global warming) โดยมีการจัดทำโครงการหรือรณรงค์ให้ห้องสมุดจัดกิจกรรมต่างๆที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อนด้วย เช่น โครงการห้องสมุดสีเขียว เป็นต้น แบ่งออกเป็นดังนี้
-  Green Building
-  Green ICT 
ห้องสมุดสีเขียว
การปลูกต้นไม้ภายในบริเวณห้องสมุด