วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Library Trend

 เรื่อง :  Library Trend 
 
Library Trend ถือได้ว่าเป็นบริการสารสนเทศในรูปแบบใหม่ หรือเรียกได้ว่าเป็น New service ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 7 ประเภทดังต่อไปนี้
1) Could computing กล่าวคือ ในปัจจุบันการบริการของห้องสมุดทั้งหมดจะเปลี่ยนไปเป็นในรูปแบบ Could computing ซึ่งเป็นรูปแบบ On line เป็นกระบวนการที่ไม่รู้ว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นจะไปปรากฎอยู่ที่ไหนบนอินเทอร์เน็ต แต่รู้ว่ามีข้อมูลนั้นอยู่ หรืออาจเรียกได้ว่า ไม่ทราบที่ตั้งของข้อมูลที่จัดเก็บ ไม่รู้แหล่งที่ตั้งของ Server แต่มีอีกแนวคิดหนึ่งคือ เรียกว่า ที่ตั้ง,กลุ่มก้อน คือ เครื่องที่เป็น server มีตั้งกระจายอยู่ทั่วไปไม่ได้มีเพียง server เดียว ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต จะตั้ง  server  ที่ไหนก็ได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่า server อยู่ที่ไหน เพราะมีอยู่ทั่วไปหรือมีอยู่ทั่วโลก
OCLC มีหลักการณ์คือ The World's Library Connected เป็นหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับห้องสมุดโดยจะทำให้ห้องสมุดแต่ละแห่งเชื่อมโยงเข้าหากันโดยใช้ชื่อ Cloud ILS และ Cloud OPAC ซึ่งห้องสมุดในปัจจุบันที่ตั้งขึ้นมาใหม่นั้นไม่จำเป็นต้องไปซื้อ  Server OPAC หรือ Software เพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณมาก แต่ควรจะเข้าร่วมหรือเช่าพื้นที่ใน OCLC เพราะสามารถเชื่อมต่อกับห้องสมุดอื่นได้อีกหลายแห่ง ทำให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานมากยิา่งขึ้น
Could computing แยกตามกลุ่มผู้ใช้
   - Could ระดับองค์กร เช่น Could library
   - Could ระดับบุคคล เช่น การให้บริการบนอินเทอร์เน็ต Gmail,Facebook,Meebo
   - Could ผสม เช่น หอสมุดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีการใช้ Could ผสม
Could computing แยกตามการใช้บริการ
   - Public Could  เป็น Could ที่ใช้แบบสาธารณะ เช่น Facebook,Gmail
   - Private Could เป็น Could แบบส่วนตัว เช่น รูปแบบการใช้ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
   - Hybrid Could เป็นการรวมทั้งระดับองค์กรและระดับส่วนตัวเข้าไว้ด้วยกัน
Could computing แยกตามประเภทเทคโนโลยี
   - SaaS (Software as a Service) เช่น Googledoc
      www.zoho.com มีระบบงาน Business เช่น ระบบการเงิน คือ ต้องเสียเงินตามระบบการใช้งาน
      Docs.google.com เป็นบริการที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการพิมพ์งาน เอ็กเซลล์ หรือการทำแบบสำรวจ 
   - IaaS (Infrestructure as a Service) 
   - PaaS (Platform as a Service)  
     เป็นรูปแบบที่จะต้องทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง (Access) ข้อมูลได้ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
2) Mobile Device การเข้าสู่  Mobile Device ควรจะต้องรู้จักกลุ่มผู้ใช้และรู้พฤติกรรมการใช้ของผู้ใช้อาจจะต้องศึกษาข้อมูลพฤติกรรมการใช้ของผู้ใช้จาก truehits.net และจะต้องดูข้อมูลพฤติกรรมการใช้ Mobile ของผู้ใช้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและนำข้อมูลเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นความแตกต่างแล้วเลือกข้อมูลที่ใกล้กับความเป็นจริงมากที่สุดมาจัดบริการเพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
Mobile แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. Smart Phone เช่น Sum sung Java Debian เป็นกลุ่มที่มีระบบปฏิบัติการในมือถือ
2. Tablet เช่น Android
3. eReader เช่น ios iPad
4. Netbook เช่น Windows เป็นคอมที่ไร้สาย
แต่ iPad มีข้อด้อย คือ ไม่สามารถใช้ Flash ได้ ไม่สามารถโชว์ภาพใน Flash ได้  
3) Digital content & Plubishing (ebook,IR,Digital Library,OJS)  เกิดขึ้นเนื่องจากองคืกรในโลกนี้มีงบประมาณหรือเงินสนับสนุนลดน้อยลง ไม่สามารจ้างคนทำงานเพิ่มได้ ส่วนคนที่ทำงานอยู่แล้วก็ต้องทำงานหนักเพิ่มมากขึ้น หลายห้องสมุดไม่สามารถจะซื้อวารสารเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากงบประมาณที่มีอยู่นั้นค่อนข้างจำกัด จึงทำให้มีการสร้าง Content ขึ้นเองเพื่อใช้ภายในห้องสมุดซึ่งจัดทำโดยอาจารย์ในมหาวิทยาลัยโดยร่วมมือกันจัดทำบทความวิชาการในด้านต่างๆขึ้นเพื่อใช้เป็นแหล่งความรู้ภายในห้องสมุด
กระบวนการขั้นตอนของการจัดทำ ebook
1. การได้มาของเนื้อหา 
2. กระบวนการผลิตและรูปแบบ
3. ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับและการเผยแพร่
    - ลิขสิทธิ์ของต้นฉบับ
    - ลิขสิทธิ์ของการเผยแพร่ 
รูปแบบของ ebook  
-  .doc
-  .pdf
-  Flip ebook
-  Flash Flip ebook สามารถโชว์ Flash บนเว็บได้
-  ePublishing สามารถใช้บน Smart Phone หรือ ipad ได้
- .ePub เป็นนามสกุลไฟล์ของเอกสาร เป็นมาตรฐานหรือนามสกุลไฟล์ใหม่ๆของเอกสาร
- Digital Multimedia Book ซึ่งหากคลิกที่รูปภาพ สามารถเปิดเป็น VDO ได้ หากคลิกที่รูปภาพอาจจะมีการเชื่อมโยงลิงค์กับรูปภาพ เช่น เกิดการเคลื่อนไหว หรือลิงค์ไปยัง VDO 
4) Crosswalk Metadata เป็นการผสมรวมกันระหว่าง metadata มากกว่า 1 รูปแบบ
ตัวอย่างรูปแบบของ Metadata แต่ละประเภท
-  Marc
-  MarcML เป็นเมตาดาตารูปแบบใหม่ จะไม่มี Subfild แต่จะเป็นรูปแบบของโปรแกรม จะไม่ใช้สัญลักษ์เป็นตัวคั่นแต่ละเขตข้อมูลแต่จะแทนสัญลักษณ์ด้วยคำ
-  Dublin Core
-  ISAD (g) เป็นระบบที่จัดทำจดหมายเหตุ Digital
-  CDWA เป็นระบบที่จัดทำเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์
-  RFD,OWL ใช้ทำ web 3.0 หรือ Semantic 
-  MODS,METS เป็นชุดเดียวกับ Dublin Core แต่มี element มากกว่า
-  PDF Metadata
-  DOC Metadata
-  Exif,XMP,IPTC เป็นมาตรฐานของภาพถ่ายดิจิทัล
5) Open Technology
-  Z39.5 เป็นยุคแรกของห้องสมุด ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ
ผ่าน Ils ห้องสมุดไม่จำเป็นต้อง Catalog เอง แต่โปรแกรมจะดูดข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือมาให้เองโดยอัตโนมัติ
-  Z39.88 เป็นโปรแกรมที่เพิ่งเกิดขึ้นมาใหม่เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ช่วยในการให้ข้อมูลบรรณานุกรมและการอ้างอิงแหล่งที่มาของทรัพยากรสารสนเทศ 
- OAI-PMH หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า One Search คือ การค้นหาข้อมูลบนเว็บโดยแค่เพียงเปิดหน้าเว็บนั้นๆเพียงครั้งเดียวก็มีข้อมูลหรือลิงค์ต่างๆที่เกี่ยวข้องปรากฎให้ครบถ้วน โดยที่ไม่ต้องเปิดหน้าเว็บเพจหลายครั้ง และต้องมีการแจกแจงรายละเอียดว่าข้อมูลที่ได้หรือผลลัพธ์ที่ได้มานั้นได้มาจากแหล่งใดและใครเป็นผู้จัดทำบ้าง นอกจากนี้ ยังต้องสามารถเชื่อโยงไปยังลิงค์ของข้อมูลอื่นๆได้และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องอยู่ในรูปแบบ Visual ร่วมด้วย ไม่ใช่แค่ในรูปแบบ text เท่านั้น 
- Link Data เช่น Web 3.0 แบ่งออกเป็นดังนี้
1. Web 1.0 คือ ให้สิทธิคนใดคนหนึ่งดูแลเว็บไซด์ ผู้ใช้สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว
2. Web 2.0 คือ ผู้ใช้ทุกคนสามารถสร้างเว็บของตนเองได้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3. Web 3.0 คือ Semantic  คือ หากค้นข้อมูลหรือพิมพ์คำถามลงในช่อง search หรือการป้อนคำค้นเป็นประโยคลงในช่องค้นหา จะปรากฎข้อมูลหรือคำตอบที่ต้องการขึ้นมาให้ ถือว่าเป็นเว็บเชิงความหมาย
-  Metadata
-  Bibliography
6) Data & Information Mining/ Visualization เวลาผู้ใช้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องไม่มีแค่ text เท่านั้น จะต้องมีในรูปแบบสื่อประสมด้วยหรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งการค้นหาข้อมูลแต่ละครั้งจะต้องทำดังต่อไปนี้
1. Search
2. ทำการวิเคราะห์
3. แดงผลเป็นเส้นโยงความสัมพันธ์
7) Green Libary  เกิดขึ้นมาจากสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน (Global warming) โดยมีการจัดทำโครงการหรือรณรงค์ให้ห้องสมุดจัดกิจกรรมต่างๆที่ช่วยลดปัญหาโลกร้อนด้วย เช่น โครงการห้องสมุดสีเขียว เป็นต้น แบ่งออกเป็นดังนี้
-  Green Building
-  Green ICT 
ห้องสมุดสีเขียว
การปลูกต้นไม้ภายในบริเวณห้องสมุด 

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมห้องสมุด

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (22/07/2011)

เรื่อง : กิจกรรมห้องสมุด

กิจกรรมห้องสมุด  คือ งานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราว หรืองานที่จัดขึ้นในโอกาสต่างๆ เพื่อส่งเสริมการอ่านหนังสือ การศึกษาค้นคว้า และการกระตุ้นความสนใจของผู้ใช้ให้เข้ามาใช้บริการห้องสมุดมากขึ้น
ความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุด
   การจัดกิจกรรมห้องสมุดเป็นการประชาสัมพันธ์ห้องสมุด ทำให้ผู้ใช้ได้รู้จักห้องสมุด มีความกระตือรือร้นในการติดตามอ่านหนังสือหรือค้นคว้า มีส่วนช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถค้นคว้าหาข้อมูลมาจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมห้องสมุด
1. เพื่อกระตุ้นความสนใจให้อ่านหนังสือ กล่าวคือ การจัดกิจกรรมต่างๆขึ้นภายในห้องสมุดนั้น
จะเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ใช้เกิดความสนใจและอยากเข้ามาใช้บริการภายในห้องมาก
ยิ่งขึ้นและเกิดความสนใจที่จะอ่านหนังสือ
2. เพื่อจูงใจให้อ่านหนังสือและเกิดนิสัยรักการอ่าน กล่าวคือ กิจจะกรรมต่างๆที่จัดขึ้นนั้นจะ
ทำให้เกิดการจูงใจผู้ใช้ให้อ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้น จนเกิดนิสัยรักการอ่านในระยะยาว
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนทำงานร่วมกัน กล่าวคือ การจัดกิจกรรมต่างๆภายในห้องสมุดของ
สถาบันการศึกษา เช่น ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัย เป็นต้น ล้วนเกิดจากความ
ร่วมมือของนักเรียนนักศึกษาที่ช่วยกันจัดกิจกรรมต่างๆ เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้มี
โอกาสทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นและสร้างความสามัคคีกัน
4. เพื่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ กล่าวคือ การจัดกิจกรรมภายใน
ห้องสมุดจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ห้องสมุดมากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้ได้มีโอกาสในการ
พบปะและได้ทำกิจกรรมร่วมกับบรรณารักในห้องสมุด ถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี
ระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการเป็นอย่างดี
5. เพื่อให้ผู้ใช้มาใช้บริการห้องสมุดเพิ่มขึ้น กล่าวคือ การจัดทำกิจกรรมในห้องสมุดจะเป็นการ
ชักชวนหรือจูงใจให้มีผู้ใช้เข้ามาใช้ห้องสมุดเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากผู้ใช้ห้องสมุดกลุ่มเดิมที่มา
ใช้ห้องสมุดเป็นประจำอยู่แล้ว เป็นการเพิ่มจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการภายในห้องสมุดได้เป็น
อย่างดี
การจัดกิจกรรมรักการอ่านของห้องสมุด

ประเภทของกิจกรรมห้องสมุด กิจกรรมห้องสมุด จะจัดในโอกาสต่าง ๆ ดังนี้
 1) กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  เป็นกิจกรรมที่จูงใจให้นักเรียนสนใจในการอ่าน และเกิดนิสัยรักการอ่าน ได้แก่
-  การเล่านิทาน
-  การเล่าเรื่องจากหนังสือ
-  การตอบปัญหาจากหนังสือ
-  การอิภิปราย
-  การออกร้านหนังสือ
-  การแสดงละครหุ่นมือ
-  การโต้วาที
-  การประกวดการแข่งขันเรียงความ
-  การใช้เกมนำไปสุ่การอ่าน
-  การจัดแสดงหนังสือใหม่
การจัดแสดงหนังสือใหม่
การแสดงละครหุ่นมือ

การเล่านิทาน
การแข่งขันตอบคำถาม

2) กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักห้องสมุด ในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ได้แก่
-  การแนะนำการใช้ห้องสมุด
-  การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด
-  การนำชมห้องสมุด
-  การอบรมยุวบรรณารักษ์
การอบรมยุวบรรณารักษ์
การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด

3)กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน  เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
-  การจัดนิทรรศการ
-  การประกวดแต่งคำขวัญ
-  การประกวดเรียงความ
-  การตอบปัญหา
-  การประกวดวาดภาพ
-  บริการครูนำนักเรียนมาศึกษาค้นคว้าในชั่วโมงเรียน
การประกวดวาดภาพ
การจัดนิทรรศการในห้องสมุด

4) กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป  เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น เพื่อเสริมความรู้ให้แก่ผู้ใช้บริการ ได้แก่
-  การจัดสัปดาห์ห้องสมุด
-  ป้ายนิเทศเสริมความรู้ กล่าวคือ ป้ายนิเทศเป็นป้ายที่แสดงถึงข้อความสั้นๆ ของความรู้หรือข้อมูลในเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ถือเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบันสำหรับผู้ใช้ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร ซึ่งมีความแตกต่างจากนิทรรศการ คือ การจัดนิทรรศการนั้นจะเป็นการนำเสนอความรู้หรือข้อมูลในลักษณะที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาว เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมาแล้วหรือเรื่องที่เป็นปัจจุบันก็ได้
-  การจัดนิทรรศการ
-  การฉายสื่อมัลติมีเดีย
-  การสาธิตภูมิปัญญาไทย
-  ตอบปัญหาสารานุกรมไทย
การจัดสัปดาห์ห้องสมุด
การจัดนิทรรศการให้แก่เด็กนักเรียน

5) กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จากการอ่าน ได้แก่
-  มุมรักการอ่าน
-  มุมหนังสือในห้องเรียน
-  ห้องสมุดเคลื่อนที่
  


  • มุมรักการอ่าน
    ห้องสมุดเคลื่อนที่ 

    สรุปการทำกิจกรรมห้องสมุด
       กิจกรรมห้องสมุดเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรักการอ่านและการศึกษาค้นคว้าด้วนตนเอง รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เรียนรู้วิธีการใช้ห้องสมุดโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง การจัดกิจกรรมถือเป็นการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดทำให้ผู้ใช้ได้รู้จักห้องสมุด มีความกระตือรือร้นในการติดตามอ่านหนังสือหรือค้นคว้า มีส่วนช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถค้นคว้าหาข้อมูลมาจัดกิจกรรมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตลอดจนเป็นการฝึกให้นักเรียนมีระเบียบ มารยาทในการใช้ห้องสมุดและเข้าใจงานต่างๆ ของห้องสมุด สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 

  • วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    บริการข่าวสารทันสมัย

    สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (19/07/2011)

    เรื่อง : บริการข่าวสารทันสมัย

    บริการข่าวสารทันสมัย Current awareness services (CASคือ บริการที่ช่วยให้ผู้ใช้ได้รับข่าวสารทันสมัยและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสาขาที่ผู้ใช้สนใจ เป็นบริการที่ต้องแนะนำให้ผู้ใช้ทราบถึงข้อมูลข่าวสารหรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยทางห้องสมุดจะต้องทำการตรวจสอบและวิเคราะห์เอกสารในเรื่องใหม่ๆ โดยคัดเลือกให้ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้ส่วนบุคคลหรือเป็นกลุ่ม และทำการจัดเก็บบันทึกเพื่อจัดส่งให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เพราะหลักการในการให้บริการผู้ใช้ในห้องสมุดคือ ต้องให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงในสิ่งต่างๆดังนี้
    To education คือ เป็นการให้ความรู้ ข้อมูลต่างๆให้แก่ผู้ใช้ ซึ่งอาจจะเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ๆหรือข้อมูลความรู้เดิมในอดีต
     To inform คือ เป็นการให้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นความรู้ใหม่ๆ ที่ต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบทันที เพราะเป็นข้อมูลข่าวสารที่มีความสำคัญ เป็นปัจจุบัน และทันสมัย
    Current awareness services (CAS) คือ บริการสารสนเทศทันสมัย เป็นบริการแจ้งให้ผู้ใช้ทราบถึงข้อสนเทศใหม่ๆตามความสนใจของผู้ใช้ทันทีที่สถาบันสารสนเทศได้รับทรัพยากรสารสนเทศ หรือทราบว่ามีสารสนเทศเกิดขึ้นในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ หรือสื่อสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งในรูปแบบสื่อประสม
    ความแตกต่างระหว่าง CAS กับ SDI
    CAS หรือ Current awareness services เป็นการให้บริการข้อมูลข่าวสารทันสมัยตลอดเวลา ทำโดยสม่ำเสมอเพื่อให้บริการแ่ผู้ใช้ โดยสถาบันสารสนเทศจะต้องคัดเลือกและติดตามข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ใช้
    SDI หรือ Selective dissemination of information services เป็นการบริการเฉพาะที่จัดอยู่ใน CAS หรือเป็นบริการย่อยใน CAS คือเป็นบริการที่ทำตามคำร้องขอของผู้ใช้ เป็นบริการเฉพาะบุคคล หากหมดวัตถุประสงค์หรือหมดความต้องการของผู้ใช้บริการก็จะงดการให้บริการนี้
    ปรัชญาของการบริการ
       เอกสารที่ต้องการสำหรับบุคคลที่ใช่ในเวลาที่ทัน กล่าวคือ ผู้ใช้จะต้องได้รับเอกสารที่ตรงกับความต้องการและทันเวลาที่ต้องการใช้ข้อมูลหรือเอกสารนั้นๆ
    วัตถุประสงค์ในการให้บริการ
       คือ สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้สารสนเทศที่ทันสมัย และตรงต่อความต้องการอย่างรวดเร็ว และเปิดโอกาสในการเข้าถึงซึ่งช่วยประหยัดเวลาสำหรับผู้ใช้มาก บริการข่าวสารทันสมัยถือได้ว่าเป็นบริการในเชิงรุกในการให้บริการข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ใช้โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องร้องขอ ซึ่งสถาบันสารสนเทศจะต้องจัดให้มีบริการผู้ใช้อยู่ตลอดเวลา หรือเรียกบริการนี้อีกอย่างหนึ่งว่า บริการนำส่งเอกสาร

    รูปแบบการบริการ CAS
    1)  รูปแบบเดิม เป็นการเวียนเอกสารหรือจัดส่งเอกสารโดยตรง
        - ภาควิชาบรรณารักษ์ จะต้องสำเนาหน้าปกหรือสาระสังเขปแนบไปพร้อมกับเอกสารนั้นๆ
        - ตัดข่าวหนังสือพิมพ์หรือสรุปข่าว
        - นำเสนอข่าวจดหมายข่าว Newsletter เป็นบริการคล้ายกับ SDI ซึ่งจะมีการแจ้งข่าวสารใหม่ๆที่ห้องสมุดบอกรับ แ้จ้งเป็นหนังสือเวียน โดยมีการแจ้งข้อมูลข่าวสารทุกเดือน หรือทุก 15 วัน
    เนื่องจากงาน CAS ในรูปแบบเดิมใช้เวลาในการจัดทำมาก จึงเริ่มมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการให้บริการ
    2)  ผู้ค้าฐานข้อมูลเริ่มจัดทำบริการเสริมการใช้ฐานข้อมูล เช่น
         - Google Alert เป็นบริการที่แจ้งบทความใหม่ในเรื่องหรือหัวข้อที่ผู้ใช้กำหนด โดยจะแจ้งผ่านทาง E-mall
         - RSS เป็นการติดตามข้อมูลข่าวสารหรือการรับข้อมูลข่าวสารที่ต้องการโดยการสมัครเป็นสมาชิก

    การเวียนเอกสารแบบเดิม - ต่อ
    1)  ส่งโดยตรงจากผู้ใช้ต่อๆกันไป และส่งกลับมายังสถาบันบริการเมื่อผู้ใช้คนสุดท้ายใช้เสร็จแล้ว
    2)  แบ่งผู้ใช้ออกเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยจัดกลุ่มผู้ใช้ตามที่อยู่ เมื่อเวียนใช้เอกสารเสร็จแล้วก็จัดส่งคืนให้สถาบันบริการสารสนเทศ แล้วจึงจังส่งไปยังกลุ่มอื่นต่อไป
    3)  จัดส่งโดยตรงไปยังผู้ใช้แต่ละคน โดยให้ผู้ใช้ส่งกลับมาที่สถาบันบริการสารสนเทศทุกครั้งหากให้เสร็จเพื่อจะส่งให้ผู้ใช้คนต่อไป
    ข้อควรปฏิบัติในการเวียนเอกสาร
    1)  ไม่ควรจัดบริการนี้ใก้แก่สมาชิกใหม่ เนื่องจากหากผู้ใช้ไม่ต้องการเอกสารจริงๆจะทำให้เสียเวลาในการให้บริการและทำให้เสียเวลาในการรับเอกสารของผู้ใช้คนอื่น ดังนั้นการให้บริการควรจะแน่ใจว่าเป็นบริการที่สมาชิกต้องการจริงๆ
    2)  ควรไปเยี่ยมผู้ใช้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ส่งเอกสารที่นำไปหมุนเวียนเร็วขึ้น
    3)  จัดลำดับให้ผู้ใช้ได้รับเอกสารก่อนหลังสลับกันบ้าง เพื่อความเสมอภาคในการได้รับสารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน
    ข้อดีของการเวียนวารสาร คือ
    -  เป็นการกระจายสารสนเทศไปสู่ผู้ใช้ที่แน่นอน เป็นการประเมินการใช้วารสารในห้องสมุด การให้บริการข่าวสารทันสมัยจะทำให้ผู้ใช้ได้รับเอกสารก่อน ซึ่งดีกว่าการนำเอกสารไปจัดวางไว้บนชั้นวางหนังสือ เพราะในบางครั้งผู้ใช้ผู้ใช้อาจจะไม่เห็นหรือาจจะไม่เคยยืมวารสารจากชั้นหนังสือเลย ทำให้ทรัพยากรในห้องสมุดไม่ถูกนำมาใช้หมุนเวียนและสิ้นเปลืองงบประมาณของห้องสมุดเพราะไ่ม่มีผู้ใช้
    -  เป็นการให้โอกาสผู้ใช้ได้เห็นเนื้อหาของเอกสารประเภทต่างๆที่มีจัดไว้ให้บริการ
    การจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศใหม่
       เป็นการจัดแสดงให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้เห็นถึงทรัพยากรใหม่ๆที่มีให้บริการ เป็นบริการที่ดีและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ห้องสมุดเป้นประจำอย่างมาก เพราะเป็นบริการที่จัดแสดงในห้องสมุด และในการจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศแต่ละครั้งก็ต้องควรคำนึงถึงปัจจัย ดังต่อไปนี้
    1)  สถานที่จัดแสดง : ควรเป็นสถานที่ที่อยู่ในบริเวณที่ผู้ใช้สามารถมองเห็นได้ง่าย หรืออาจจะทำป้ายเพื่อให้ผู้ใช้สะดุดตา และควรจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศในบริเวณใกล้กับประตูทางเข้าออกห้องสมุด เพราะหากผู้ใช้เดินเข้ามาก็จะสามารถมองเห็นได้ง่าย นอกจากนี้ยังควรจัดแสดงในที่ที่มีบริเวณกว้างขวาง หรือใกล้กับทางเดินผ่านไปมาเพื่อให้ผู้ใช้มองเห็นได้ง่าย ชัดเจน และค้นหาได้สะดวก
    2)  ประเภทของทรัพยากรที่นำมาจัดแสดง : ควรเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่ใหม่และทันสมัยมาให้บริการแก่ผู้ใช้ เนื่องจากอาจมีผู้ใช้ที่ต้องการติดตามข้อมูลข่าวสารในเรื่องใหม่ๆ การนำสารสนเทศที่ทันสมัยเป็นปัจจุบันมาให้บริการย่อมจะช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลข่าวสารที่ตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น
    3)  วิธีการจัดแสดง : ควรจัดแสดงทรัพยากรสาสนเทศประเภทเดียวกันไว้ในบริการเดียวกัน หรืออาจมีการจัดแยกวารสารที่ออกไม่ตรงกำหนดเวลาทำให้ผู้ใช้ต้องคอยติดตามดู จะช่วยประหยัดเวลาและสะดุดตาผู้ใช้ เป้นการส่งเสริมให้ผู้ช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
    4)  ระยะเวลาการจัดแสดง : ส่วนใหญ่จะมีการจัดแสดงประมาณ 2 สัปดาห์หรือสถาบันสารสนเทศบางแห่งจะทยอยนำทรัพยากรสารสนเทศออกมาแสดง
    5)  การอนุญาตให้ใช้ในขณะจัดแสดง : ระหว่างจัดแสดงทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆนั้นอาจจะมีการอนุญาตให้ผู้ใช้ยืมออกได้ เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ แต่มีข้อเสียคือ ผู้ใช้ห้องสมุดคนอื่นจะไม่มีโอกาสได้เห็น
    6)  การดำเนินการทางเทคนิค : ทรัพยากรสารสนเทศส่วนใหญ่ที่นำมาจัดแสดงนั้นล้วนเป้นทรัพยากรที่ผ่านขั้นตอนกระบวนการทางเทคนิคมาเรียบร้อยแล้ว เช่น การวิเคราะห์หรือจัดหมวดหมู่หนังสือ เป็นต้น
    วิธีการบอกรับ RSS  
       ปัจจุบัน RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริหารข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มี การแชร์ข้อมูล เช่น เว็บไซต์ข่าว เว็บล็อก ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างพรีวิวแยกต่างหาก เพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึง สามารถสืบค้นข้อมูลได้



       RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ บริการที่อยู่บนระบบอินเตอร์เน็ท จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Updateไม่ต้อง เสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา เป็นบริการใหม่บนเว็บไซต์ภาษา XML ใช้สำหรับดึงข่าวจากเว็บต่างๆ มาแสดงบนหน้าเว็บเพจ โดยนำมาเฉพาะหัวข้อข่าว เมื่อผู้ใช้คลิกลิงค์ก็จะแสดง รายละเอียดข่าวในเว็บต้นฉบับนั้นๆ โดยที่หัวข้อข่าวจะอัปเดทตามเว็บต้นทาง ซึ่งการดึงหัวข้อข่าวไปแสดงนั้นจะมี ส่วนประกอบทั้งหมดสามส่วนคือส่วนผู้ให้บริการดึงข่าว และส่วนผู้สร้างเว็บไซต์ใช้ทั่วไปที่ต้องการดึงข่าวไปแสดง และส่วนผู้ใช้ทั่วไป

    จุดเด่นของ RSS คือผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูลอัปเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัปเดทไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัปเดทใหม่บนเว็บไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้สามารถรับข่าวสารอัปเดทใหม่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์
       นอกจากนี้ RSS ยังช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์โดยเฉพาะกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลบนเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางมากขึ้น
       ในปัจจุบัน RSS เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเว็บไซต์ต่างประเทศ เช่น Google, Yahoo!, CNet และเว็บไซต์ขององค์กรต่างๆ อีกมากมาย เกือบทุกองค์กร หรือหน่วยงาน ที่ต้องมีการประชาสัมพันธ์ข่าว จะมี RSS เพื่อบริการแล้วทั้งสิ้น คุณสามารถสังเกตได้ที่หน้าเว็บไซต์จะพบสัญลักษณ์ 
    วิธีนำไปใช้งาน ผ่านทางหน้าเว็บไซต์  สามารถดึงข่าวผ่าน RSS ได้โดยง่ายเพียงนำ Link ของหัวข้อข่าวที่สนใจไปติดที่เว็บไซต์ของ ผ่านโปรแกรมดึงข่าวต่างๆ ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับ Mambo, PHP-Nuke, Weblog ต่างๆได้ทันที ผ่าน RSS reader สามารถอ่านข่าวได้โดยผ่าน RSS reader หรือ โปรแกรมที่เรียกตัวเองว่า Feed reader ต่างๆ ซึ่งกรณีนี้จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเพื่อใช้งาน


    วิธีการบอกรับ Rss ใน igoogle
    1การจะบอกรับ RSS ใน iGoogle นั้น  ขั้นตอนแรกผู้ใช้ต้องทำการสมัครเป็นสมาชิกของ iGoogle ก่อน  โดยถ้าเรามีe-mail ของGmailแล้วเราก็สามารถลงชื่อเข้าใช้ได้เลย



    2.  เมื่อเรามี iGoogle แล้ว  เราสามารถจะเพิ่มGadgetอะไรเข้าไปในหน้าแรกของigoogleของเราได้  สมมติว่าเมื่อเราต้องการจะติดตามข่าวสารของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก  เราก็เข้าไปในเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์คมชัดลึก  แล้วเลือกหาสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย (RSS  Icon) เมื่อคลิ๊กเข้าไปก็จะพบกับหน้า RSS



    3.  เมื่อเข้าไปในหน้า RSS แล้วก็เลือกลิงค์ที่เราสนใจอยากจะติดตามแล้วก็Coppy


    4.  เมื่อได้ลิงค์แล้วก็กลับไปที่หน้าiGoogle แล้วคลิ๊กเพิ่มแกตเจ็ต



    5.  จากนั้นให้คลิ๊ก เพิ่มฟีด หรือ เกตแจ็ต

    6. ต่อไปก็นำลิงค์ที่เราต้องการที่ได้coppyไว้เมื่อตอนแรกมาใส่ลงไป และคลิ๊กเพิ่ม  หลังจากนั้นข่าวสารที่เราต้องการก็จะไปปรากฏอยู่ในหน้าแรกของiGoogle ให้เราได้ติดตามข่าวสารต่อไป 

      


    วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    บริการสอนการใช้ (ต่อ)

    สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (12/07/2011)

    เรื่อง : บริการสอนการใช้ (ต่อ)
    งานบริการอ้างอิงและสารสนเทศแบ่งลักษณะงานออกเป็น 3 กลุ่ม
    1.) บริการสารสนเทศ (Informational services) เป็นบริการตอบคำถามหรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ
    2.) บริการสอนการใช้  (Instruction services) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์  การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (information literacy skills)
    3.) บริการแนะนำ (Guidance services) บริการแนะนำจะมีความคล้ายกับบริการสอนการใช้ แต่มีความแตกต่างคือ จะเน้นในการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสม เช่น หนังสือ บทความ หรือทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ ในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าสอนการใช้
    ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
       การรู้สารสนเทศ จึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถของมนุษย์ ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณ และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่  อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
       การพัฒนา คนให้ได้รับการศึกษาสูงขึ้น  เปลี่ยนแปลงแนวคิดในการจัดการเรียนการสอน โดยฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิด (Self  Learning) วิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงสภาพเป็น ศูนย์การเรียนรู้ (Learning  Center)  กล่าวคือ โรงเรียนจะต้องจัดให้มีสื่อและรูปแบบการเรียนที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดโรงเรียนที่ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญในระดับต้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
    การเรียนรู้ตลอดชีวิต

    การส่งเสริมการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา
       การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้รู้สารสนเทศ จำเป็นต้องเริ่มดำเนินการปูพื้นฐานตั้งแต่การศึกษาระดับต้น และต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา และความร่วมมือระหว่างครู อาจารย์ และบรรณารักษ์ จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะเป็นผู้รู้สารสนเทศได้อย่างดีนั้นจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน และการตระเตรียมอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต
    เกณฑ์ และแบบทดสอบมาตรฐาน 
    1.)ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT literacy) 
    2.)การรอบรู้ การเข้าถึง และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ หรือมีทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy)
    3.)การรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy)
    ห้องสมุดและการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
       ห้องสมุดมีบทบาทในการสอนการรู้สารสนเทศ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บรรณารักษ์มีบทบาทในฐานะผู้สอนวิชาการรู้สารสนเทศหรือร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในการบูรณาการการสอนการรู้สารสนเทศในรายวิชาต่างๆ ซึ่งวิธีการส่งเสริมการรู้สารสนเทศจะอยู่ในส่วนของ บริการสอนการใช้ (Instruction services) ซึ่งเป้นบริการที่ต้องการให้ผู้ใช้รู้จักวิธีการค้นคว้า คือ การแนะนำห้องสมุด และ ทรัพยากรสารสนเทศ การให้บริการนี้อาจคลุมถึง หลักการสืบค้นฐานข้อมูล การใช้ฐานข้อมูล การใช้  ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ทั้งที่เป้นสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล้กทรอนิกส์ การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้การค้นคว้าได้ด้วยตนเอง


    การส่งเสริมให้ผู้ใช้เรียนรู้ด้วยตนเอง

    การสอนการรู้สารสนเทศในสถาบันศึกษา
    1)  การสอนเป็นรายวิชาอิสระ  อาจจัดทำเป็นรายวิชาของหลักสูตรหรือจัดเป็นรายวิชาบังคับ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละนโยบายของสถาบันศึกษาแต่ละแห่งได้กำหนดไว้
    2)  การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา  เป็นการสอนการรู้สารสนเทศที่สอดแทรกอยู่ในรายวิชาต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานั้นๆ
    3)  การสอนแบบบูรณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร  เป็นการสอนโดยจัดทำหลัดสูตรตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์และรุปแบบการสอนจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนในรายวิชา
    4)  โปรแกรมการสอนห้องสมุด (One short Instruction) จัดสอน อบรม ปฏิบัติการโดยห้องสมุด
    5)  บทเรียนออนไลน์ (Online Tutorials) เป็นการสอนการรู้สารสนเทสผ่านเว็บไซต์ มีการใช้สื่อประสมและเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการพัฒนาบทเรียนให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
    6)  สมุดแบบฝึกหัด (Workbook)  ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนที่กระทัดรัดและเน้นการทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกทักษะการรู้สารสนเทศ 

    วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

    บริการสอนการใช้

    สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (8/07/2011)


    เรื่อง : บริการสอนการใช้
    บริการสอนการใช้ คือ เป็นบริการที่บรรณารักษ์ภายในห้องสมุดจะต้องเป็นผู้ให้บริการแก่ผู้ใช้โดยการสอนหรือสร้างทักษะการรู้สารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ หรืออาจเรียกบริการนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy) ซึ่งทักษะการรู้สารสนเทศ คือ ความสามารถในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศที่ต้องการ โดยต้องทราบความต้องการของตนเองก่อนเป็นลำดับแรกว่าตนต้องการสารสนเทศแบบใด อีกทั้งรู้ถึงแหล่งที่จะสามารถสืบค้นสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของตนเองได้ นอกจากนี้ยังสามารถประเมินความน่าเชื่อถือที่ได้จากการค้นสารสนเทศและสามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้อย่างมีจริยธรรม จากกระบวนการดังกล่าวนี้จึงจะทำให้ให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    การรู้สารสนเทศ (Information literacy) หมายถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศที่ค้นมาได้ และใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพทุกรูปแบบ ผู้รู้สารสนเทศจะต้องมีทักษะในด้านต่างๆ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์และ / หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการใช้ห้องสมุด ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น เป็นการช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life long Learning) รวมถึงการเรียนรู้วิธีการค้นหาสารสนเทศด้วยตนเองไปในอนาคตด้วย
    -  Bibliographic Instruction (Bl) เป็นชื่อเดิมของ Information Literacy หรือ Information services บางห้องสมุดเรียกว่า Information


    การรู้สารสนเทศ

    องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ
       การรู้สารสนเทศเป็นทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะ และกระบวนการอันเป็นประโยชน์ในการพัฒนา การเรียนรู้ทุกรูปแบบ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงมีการแบ่งองค์ประกอบของการรู้สารสนเทศไว้ 5 ประการ คือ
    1. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ ผู้เรียนจะต้องกำหนดเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า กำหนดความต้องการสารสนเทศ ระบุชนิดและรูปแบบที่หลากหลายของแหล่งสารสนเทศที่จะศึกษา เช่น ห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ บุคคล สถานที่ อินเทอร์เนต เป็นต้น รวมทั้งตระหนักถึงค่าใช้จ่ายและประโยชน์ที่ได้รับ และทราบขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
    2. การเข้าถึงสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีการค้นคืนสารสนเทศที่เหมาะสม กำหนดกลยุทธ์การค้นคืนอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถค้นคืนสารสนเทศออนไลน์หรือสารสนเทศจากบุคคลโดยใช้วิธีการที่หลากหลายสามารถปรับกลยุทธ์การค้นคืนที่เหมาะสมตามความจำเป็น รวมถึงการตัดตอน บันทึก และการจัดการสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ
    3. การประเมินสารสนเทศ ผู้เรียนสามารถสรุปแนวคิดสำคัญจากสารสนเทศที่รวบรวม โดยใช้เกณฑ์การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ ความเที่ยงตรง ความถูกต้อง และความทันสมัย สามารถสังเคราะห์แนวคิดหลักเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ เปรียบเทียบความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเพื่อพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่เพิ่มขึ้น อะไรคือสิ่งที่ขัดแย้งกัน และอะไรคือสิ่งที่คล้อยตามกัน
    4. ความสามารถในการนำเสนอสารสนเทศ เมื่อผู้เรียนมีการสังเคราะห์สารสนเทศและมีการประเมินความน่าเชื่อถือของสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการได้แล้ว ก็ต้องนำสารสนเทศที่ได้นั้นมานำเสนอข้อมูลให้บุคคลอื่นได้ทราบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อีกทั้งข้อมูลที่นำเสนอนนั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่เหมาะสมกับยุคสมัย สอดคล้องกับความต้องการของสังคมแห่งยุคการเรียนรู้ในปัจจุบัน จึงจะทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ สะสมอยู่ในตัวบุคคลมากยิ่งขึ้น
    5. ความสามารถในการใช้สารสนเทศที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถใช้สารสนเทศใหม่ผนวกกับสารสนเทศที่มีอยู่ในการวางแผนและสร้างผลงาน หรือการกระทำตามหัวข้อที่กำหนดทบทวนกระบวนการ พัฒนาการผลิตผลงานของตนเอง และสามารถสื่อสารหรือเผยแพร่ผลงานของตนเองต่อบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้อย่างมีจริยธรรม


    ทักษะการรู้สารสนเทศ

    นอกจากความสามารถดังกล่าวแล้ว ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติในด้านอื่นๆ ประกอบอีก ได้แก่
    1. การรู้ห้องสมุด (Library literacy)  ผู้เรียนต้องรู้ว่า ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ไว้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งในรูปสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเลกทรอนิกส์ รู้วิธีการจัดเก็บสื่อ รู้จักใช้เครื่องมือช่วยค้นต่างๆ รู้จักกลยุทธ์ในการค้นคืนสารสนเทศแต่ละประเภท รวมทั้งบริการต่างๆ ของห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่ผู้เรียนกำลังศึกษาอยู่จะต้องรู้จักอย่างลึกซึ้งในประเด็นต่างๆ ดังกล่าวแล้ว การรู้ห้องสมุดครอบคลุมการรู้แหล่งสารสนเทศอื่นๆด้วย
    2. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)  ผู้เรียนต้องรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เบื้องต้นในเรื่องของฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ การเชื่อมประสาน และการใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ เช่น การพิมพ์เอกสาร การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้อินเตอร์เนตในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการรู้ที่ตั้งของแหล่งสารสนเทศ เป็นต้น
    3. การรู้เครือข่าย (Network Literacy)  ผู้เรียนต้องรู้ขอบเขตและมีความสามารถในการใช้สารสนเทศทางเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก สามารถใช้กลยุทธ์การสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่าย และการบูรณาการสารสนเทศจากเครือข่ายกับสารสนเทศจากแหล่งอื่นๆ
    4. การรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น (Visual Literacy)  ผู้เรียนสามารถเข้าใจและแปลความหมายสิ่งทีเห็นได้รวมถึงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็น และสามารถใช้สิ่งที่เห็นนั้นในการทำงานและการดำรงชีวิตประจำวันของตนเองได้
    5. การรู้สื่อ (Media Literacy)  ผู้เรียนต้องสามารถเข้าถึง วิเคราะห์ และผลิตสารสนเทศจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ ดนตรี หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น รู้จักเลือกรับสารสนเทศจากสื่อที่แตกต่างกัน รู้ขอบเขตและการเผยแพร่สารสนเทศของสื่อ เข้าใจถึงอิทธิพลของสื่อ และ สามารถพิจารณาตัดสินได้ว่าสื่อนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร แล้วจึงค่อยเชื่อถึงข้อมูลที่สื่อนั้นได้นำเสนออกมา
    6. การรู้สารสนเทศดิจิทัล (Digital Literacy)  ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้สารสนเทศรูปแบบซึ่งนำเสนอในรูปดิจิทัลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างการรู้สารสนเทศดิจิทัล เช่น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลจากแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เข้าถึงในระยะไกลมาใช้ได้ รู้ว่าคุณภาพสารสนเทศที่มาจากเว็บไซต์ต่างๆ แตกต่างกันรู้ว่าเว็บไซต์น่าเชื่อถือและเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ รู้จักโปรแกรมการค้นหา สามารถสืบค้นโดยใช้การสืบค้นขั้นสูง รู้เรื่องของกฎหมายลิขสิทธิ์ที่คุ้มครองทรัพยากรสารสนเทศบนเว็บไซต์ การอ้างอิงสารสนเทศจากเว็บไชต์ เป็นต้น
    7. การมีความรู้ด้านภาษา (Language Literacy)  ผู้เรียนมีความสามารถกำหนดคำสำคัญสำหรับการค้น ในขั้นตอนการค้นคืนสารสนเทศที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การค้นสารสนเทศจากอินเตอร์เนต และการนำเสนอสารสนเทศที่ค้นมาได้ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่จำเป็นมากที่สุด เนื่องจากเป็นภาษาสากล และสารสนเทศส่วนใหญ่เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ
    8. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)  ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจเลือกรับสารสนเทศที่นำเสนอไว้หลากหลาย โดยการพิจารณาทบทวนหาเหตุผล จากสิ่งที่เคยจดจำ คาดการณ์ โดยยังไม่เห็นคล้อยตามสารสนเทศที่นำเสนอเรื่องนั้นๆ แต่จะต้องพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยความรอบคอบและมีเหตุผลว่าสิ่งใดสำคัญมีสาระก่อนตัดสินใจเชื่อ จากนั้นจึงดำเนินการแก้ปัญหา
    9. การมีจริยธรรมทางสารสนเทศ (Information Ethic)  การสร้างผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายหลักของการจัดการศึกษา เพื่อปลูกฝังผู้เรียนให้รู้จักใช้สารสนเทศโดยชอบธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรมทางสารสนเทศ เช่น การนำข้อความหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ในงานของตนจำเป็นต้องอ้างอิงเจ้าของผลงานเดิม การไม่นำข้อมูลที่ขัดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณของสังคมไปเผยแพร่ เป็นต้น

    การเรียนรู้ตลอดชีวิต

    การให้บริการสอนการใช้ของห้องสมุด ห้องสมุดจัดบริการ 2 ลักษณะ ดังนี้
    1. บริการสอน/แนะนำเฉพาะบุคคล เป็นการให้บริการแก่ผู้ใช้เฉพาะเป็นรายบุคคลโดยเป็นการให้บริการจากบรรณารักษ์ ซึ่งบรรณารักษ์จะต้องบริการให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้ในเรื่อง การให้บริการต่างๆภายในห้องสมุด เช่น บริการยืม-คืน บริการยืมระหว่างห้องสมุด บริการหนังสือสำรองแก่ผู้ใช้ เป็นต้น อีกทั้งการอธิบายการใช้ฐานข้อมูลในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ การชี้แหล่งสารสนเทศที่ผู้ใช้ต้องการ การให้บริการตอบคำถามแก่ผู้ใช้ในกรณีที่ผู้ใช้เกิดปัญหาในการใช้ห้องสมุด ซึ่งแต่ละบริการดังต่อไปนี้บรรณารักษ์จะต้องมาให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นจะต้องไปขอคำแนะนำหรือถามบรรณารักษ์ก่อนก็ได้ เพราะจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจต่อผู้ใช้บริการห้องสมุดของบรรณารักษ์ ส่งผลให้ผู้ใช้ห้องสมุดเกิดความประทับใจในการให้บริการและอาจกลับมาใช้บริการใหม่
    2. การให้บริการเป็นกลุ่ม เป็นการให้บริการที่ผู้ใช้ห้องสมุดจะเป็นผู้ร้องขอให้บรรณารักษ์สอนการใช้ห้องสมุด ซึ่งการให้บริการในแต่ละครั้งบรรณารักษ์จะจัดให้มีการเรียนการสอนเป็นแบบกลุ่ม คือ จัดผู้เรียนแบ่งเป็นแบบกลุ่มใหญ่ๆ แล้วให้บริการสอนการใช้แก่ผู้เรียน โดยแนะนำเรื่องการเข้าถึงสารสนเทศด้วยวิธีการต้างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ซึ่งการให้บริการแบบกลุ่มนี้อาจแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภท คือ
       2.1) การนำชมห้องสมุด เป็นบริการที่บรรณารักษ์ในห้องสมุดจะเป็นผู้นำผู้เรียนชมห้องสมุด เพื่ออธิบายให้ผู้ใช้ทราบถึงการให้บริการต่างๆในแต่ละแผนกของห้องสมุด และเป็นการชี้แหล่งให้ผู้เรียนทราบว่าทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทให้บริการที่ตรงไหนของห้องสมุด เพื่อความง่ายในการค้นหาและประหยัดเวลาในการสืบค้น อีกทั้งยังเป็นบริการที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบรรณารักษ์และผู้ใช้ให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้ไม่เิกิดความประหม่าในการขอรับบริการจากบรรณารักษ์ในแต่ละครั้งและยังช่วยให้การบริการของบรรณารักษ์ในห้องสมุดเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น





    บริการนำชมห้องสมุดของสำนักหอสมุด มาหาวิทยาลัยเชียงใหม่

       2.2)  บริการสอนการใช้เครื่องมือการค้น เป็นบริการที่บรรณารักษ์จะเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้เองหรือผู้ใช้อาจเป็นผู้ร้องขอคำแนะนำจากบรรณารักษ์ก็ได้ ซึ่งบริการนี้จะเป็นบริการที่บรรณารักษ์จะให้คำแนะนำในเรื่องการใช้ฐานข้อมูลในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการและอาจมีการฝึกฝนให้ผุ้ใช้ลองปฏิบัติจริง เพื่อให้ผุ้ใช้ได้เกิดการเรียนรู้และสามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้ด้วยตนเองเพราะการใช้เครื่องมือในการช่วยค้นนั้นจะช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว สะดวกและประหยัดเวลาในการสืบค้นมาก


    บริการสอนการใช้เครื่องมือค้นของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    การสอนเรื่องการรู้สารสนเทศ มีการสอนทั้งในระดับอุดมศึกษาและในระดับโรงเรียนเพื่อเป็นพื้นฐานให้ผู้เรียนมีทักษะการรู้สารสนเทศ ซึ่งการเีรียนการสอนเรื่องการรู้สารสนเทศนั้นก็ได้มีการจัดทำเป็นหลักสูตรของการศึกษาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับหลักสูตรการเรียนการสอนของแต่ละสถาบันการศึกษา เป็นดังนี้
    1) การสอนเป็นรายวิชาอิสระ
    2) บทเรียนแบบออนไลน์
    3) สมุดแบบฝึกหัด เช่น การทำสมุดคู่มือและแบบฝึกหัดการรู้สารสนเทศ
    4) การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
    5) การสอนแบบบูรณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร
    ผู้ดูแลในการเรียนการสอนหรือผู้สอนเรื่องการรู้สารสนเทศนั่นก็คือ บรรณารักษ์ในห้องสมุด


    การสอนเรื่องการรู้สารสนเทศในระดับอุดมศึกษา
    การสอนเรื่องการรู้สารสนเทศในระดับโรงเรียน

    ความสำคัญของการรู้สารสนเทศการรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้
    1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบัน มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ ต้องมีการดำเนินการให้เด็กและเยาวชนรู้สารสนเทศและเข้าถึงสารสนเทสได้ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐาน จึงถือเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในสถาบันการศึกษา

    2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศแหล่งใดแหล่งหนึ่ง ก็ต้องพิจารณามาตรฐานของห้องสมุด คุณภาพด้านการให้บริการและทรัพยากรสารสนเทศ การให้บริการของบรรณารักษ์ และเปรียบเทียบแต่ละห้องสมุด แล้วจึงค่อยตัดสินใจไปใช้บริการ จึงจะทำให้ได้สารสนเทศที่ดีที่สุดและตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด เป็นต้น
    3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น สถาบันสารสนเทศหรือห้องสมุดประสบปัญหาทางด้านการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศ ก็สามารถติดต่อเครือข่ายระหว่างห้องสมุดเพื่อให้บริการยืมแก่ผู้ใช้ได้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาของห้องสมุดได้ดี เป็นต้น
    4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ  บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ