วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการสอนการใช้ (ต่อ)

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (12/07/2011)

เรื่อง : บริการสอนการใช้ (ต่อ)
งานบริการอ้างอิงและสารสนเทศแบ่งลักษณะงานออกเป็น 3 กลุ่ม
1.) บริการสารสนเทศ (Informational services) เป็นบริการตอบคำถามหรือแสวงหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ
2.) บริการสอนการใช้  (Instruction services) สอนผู้ใช้ในการค้นคว้า และการใช้เครื่องมือค้นได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บัตรรายการ หนังสืออ้างอิง การสืบค้นออนไลน์  การบริการสอนการใช้จะมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้มีการรู้สารสนเทศ (information literacy skills)
3.) บริการแนะนำ (Guidance services) บริการแนะนำจะมีความคล้ายกับบริการสอนการใช้ แต่มีความแตกต่างคือ จะเน้นในการให้ความช่วยเหลือในขณะสืบค้น การเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสม เช่น หนังสือ บทความ หรือทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ ในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าสอนการใช้
ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
   การรู้สารสนเทศ จึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถของมนุษย์ ให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ มีวิจารณญาณ และความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ใหม่  อันนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
   การพัฒนา คนให้ได้รับการศึกษาสูงขึ้น  เปลี่ยนแปลงแนวคิดในการจัดการเรียนการสอน โดยฝึกให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิด (Self  Learning) วิเคราะห์ การแสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นโรงเรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงสภาพเป็น ศูนย์การเรียนรู้ (Learning  Center)  กล่าวคือ โรงเรียนจะต้องจัดให้มีสื่อและรูปแบบการเรียนที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องสมุดโรงเรียนที่ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญในระดับต้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
การเรียนรู้ตลอดชีวิต

การส่งเสริมการรู้สารสนเทศในสถาบันการศึกษา
   การพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้รู้สารสนเทศ จำเป็นต้องเริ่มดำเนินการปูพื้นฐานตั้งแต่การศึกษาระดับต้น และต่อเนื่องถึงระดับอุดมศึกษา และความร่วมมือระหว่างครู อาจารย์ และบรรณารักษ์ จึงจะเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะเป็นผู้รู้สารสนเทศได้อย่างดีนั้นจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน และการตระเตรียมอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต
เกณฑ์ และแบบทดสอบมาตรฐาน 
1.)ทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT literacy) 
2.)การรอบรู้ การเข้าถึง และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ หรือมีทักษะการรู้สารสนเทศ (Information Literacy)
3.)การรู้เท่าทันสื่อ (Media literacy)
ห้องสมุดและการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ
   ห้องสมุดมีบทบาทในการสอนการรู้สารสนเทศ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ บรรณารักษ์มีบทบาทในฐานะผู้สอนวิชาการรู้สารสนเทศหรือร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในการบูรณาการการสอนการรู้สารสนเทศในรายวิชาต่างๆ ซึ่งวิธีการส่งเสริมการรู้สารสนเทศจะอยู่ในส่วนของ บริการสอนการใช้ (Instruction services) ซึ่งเป้นบริการที่ต้องการให้ผู้ใช้รู้จักวิธีการค้นคว้า คือ การแนะนำห้องสมุด และ ทรัพยากรสารสนเทศ การให้บริการนี้อาจคลุมถึง หลักการสืบค้นฐานข้อมูล การใช้ฐานข้อมูล การใช้  ทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ ทั้งที่เป้นสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล้กทรอนิกส์ การประเมินทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้การค้นคว้าได้ด้วยตนเอง


การส่งเสริมให้ผู้ใช้เรียนรู้ด้วยตนเอง

การสอนการรู้สารสนเทศในสถาบันศึกษา
1)  การสอนเป็นรายวิชาอิสระ  อาจจัดทำเป็นรายวิชาของหลักสูตรหรือจัดเป็นรายวิชาบังคับ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละนโยบายของสถาบันศึกษาแต่ละแห่งได้กำหนดไว้
2)  การสอนเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา  เป็นการสอนการรู้สารสนเทศที่สอดแทรกอยู่ในรายวิชาต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับรายวิชานั้นๆ
3)  การสอนแบบบูรณาการกับรายวิชาอื่นในหลักสูตร  เป็นการสอนโดยจัดทำหลัดสูตรตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์และรุปแบบการสอนจะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการสอนในรายวิชา
4)  โปรแกรมการสอนห้องสมุด (One short Instruction) จัดสอน อบรม ปฏิบัติการโดยห้องสมุด
5)  บทเรียนออนไลน์ (Online Tutorials) เป็นการสอนการรู้สารสนเทสผ่านเว็บไซต์ มีการใช้สื่อประสมและเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการพัฒนาบทเรียนให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง
6)  สมุดแบบฝึกหัด (Workbook)  ประกอบด้วยเนื้อหาบทเรียนที่กระทัดรัดและเน้นการทำแบบฝึกหัดเพื่อฝึกทักษะการรู้สารสนเทศ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น