วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บริการนำส่งเอกสาร

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (5/07/2011)

เรื่อง : บริการนำส่งเอกสาร
บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery services :DD) คือ บริการที่จัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ และจัดส่งในรูปแบบกระดาษหรือวัสดุย่อส่วนหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการส่งที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งมีการคิดค่าบริการสำหรับผู้ใช้ซึ่งห้องสมุดจะมีการคิดค่าบริการเป้นส่วนใหญ่ แต่บางห้องสมุดอาจจะให้บริการฟรี นอกจากนี้ผู้บริการนำส่งเอกสารจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของกฎหมาลลิขสิทธิ์ ซึ่งก่อนที่จะให้บริการก็จะต้องขออนุญาตผู้มีสิทธิในผลงาน และทุกครั้งที่ให้บริการก็จะต้องมีการเสียค่าลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องก่อนทำสำเนาถึงลูกค้าหรืออาจมีการเสียภาษี (tax)ร่วมด้วย
บริการจัดส่งเอกสาร (Document Delivery Services) หรือ D.D. 

ตัวอย่าง : บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Services) หรือ D.D. เป็นบริการส่งเอกสารที่ยืม - คืน หรือยืมต่อของสมาชิก โดยที่สมาชิกไม่ต้องไปยืม - คืนด้วยตนเอง เพียงแต่รอรับเอกสารที่ห้องสมุดคณะ/สถาบัน/สำนัก ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ท่านสะดวกมากที่สุด ท่านจะได้รับเอกสารที่ต้องการภายใน 24 ชั่วโมง
ผู้มีสิทธิใช้บริการ : บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ทรัพยากรที่ให้บริการ สามารถยืมวัสดุสารนิเทศและโสตทัศนวัสดุประเภทวิชาการ ตามสิทธิการยืม ของสมาชิก แต่ละประเภท
ระยะเวลาการยืม : ตามสิทธิการยืมของสมาชิกแต่ละประเภท
ขั้นตอนการใช้บริการ ผู้รับบริการกรอกแบบฟอร์มการรับบริการนำส่งเอกสารหรือส่งแบบฟอร์มที่กรอกเรียบร้อยแล้วที่ห้องสมุดที่ท่าน


แบบฟอร์มการนำส่งเอกสารของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บริการเสริม ILL เครือข่าย นอกเครือข่ายที่ไม่มีบริการ
-  การให้บริการหนังสือ บทความ โสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
-  การติดต่อเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการ เอื้อให้ผู้ใช้ได้มาถึงเอกสารที่ต้องการซึ่งเป็นเอกสารที่ไม่มีให้บริการในห้องสมุด
-  การจัดการให้ผู้ใช้ได้เอกสารผ่านฐานข้อมูล

ปรัชญาของการบริการ
1.)  ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถมีทรัพยากรสารสนเทศครบตามที่ผู้ใช้ต้องการ
2.)  สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
3.)  สามารถแก้ปัญหาการบริการให้แก่ผู้ใช้ ในเรื่อง ไฟ น้ำท่วม หรือในกรณีที่เกิดการสูญหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.)  เพิ่มศักยภาพในการทำงาน ซึ่งในการบริการผู้ใช้นั้นผู้ที่ให้บริการจะต้องมีการเพิ่มหรือเสริมสร้างศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการบริการที่มีคุณภาพ
วัตถุประสงค์ของการบริการ
-  ในการให้บริการนำส่งเอกสารของห้องสมุดนั้นจะใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบ Just in time คือ เป็นรูปแบบในการบริหารจัดการในการให้บริการแก่ผู้ใช้ที่าสามารถนำทรัพยากรมาให้ผู้ใช้ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม สามารถค้นหาได้ทันเวลาและทันต่อเหตุการณ์ สามารถดำเนินการได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ทันที


การจัดส่งเอกสารผ่านทางไปรษณีย์

วิธีการบริการ 
1.)  วิธีแบบเดิม คือ บริการนำส่งเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ หรือทางโทรสาร
2.)  วิธีแบบปัจจุบัน คือ บริการจัดส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ สแกนส่ง หรือแนบไฟล์
วิธีการนำส่ง
1.)  ทางไปรษณีย์ เป็นบริการที่ต้องใช้ระยะเวลาในการส่งเอกสาร
2.)  ทางโทรสาร เป็นบริการที่ค่อนข้างล่าช้า และต้องใช้ระยะเวลานานในการจัดส่งเอกสารแต่ละครั้ง
3.)  ทางยานพาหนะ เป็นบริการที่ให้บริการค่อนข้างรวดเร็วต่อผู้ใช้เป็นอย่างมาก แต่มีข้อเสียคือ หากทรัพยากรที่ผู้ใช้ต้องการมีมากเกินไป ยานพาหนะที่จัดส่งอาจไม่เพียงพอ จึงต้องมีการจัดเตรียมยานพาหนะในการให้บริการจัดส่งเอกสารให้พร้อมอยู่เสมอ
4.)  ทาง E-mail เป็นบริการที่สามารถจัดส่งเอกสารให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเวลามาก แต่ข้อเสียคือ หากไม่มีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ไม่สามารถให้บริการได้
5.)  นำส่งด้วยภาพลักษ์เอกสาร (Document image system)


วิธีการนำส่งเอกสารโดยการใช้ยานพาหนะ

การจัดส่งเอกสารผ่านทาง E-mail

ผู้ให้บริการ
1.)  สถาบันสารสนเทศ
     -  การจัดส่งในสถาบัน เช่น ทาง  e-mail, ทางระบบออนไลน์  e-office, หรือยานพาหนะ
     -  การจัดส่งเอกสารระหว่างสถาบัน โดยจะมีการจัดทำข้อตกลงร่วมกัน
2.)  ตัวแทนจัดหาและจัดส่งเอกสาร
     -  ผู้ให้บริการทั่วไป Ingenta
     -  ผู้ให้บริการเฉพาะด้านสาขา  Proquest /UMI  Thesis
     -  ผู้ให้บริการที่เป็นสำนักพิมพ์  Elsevier Science, SpringerLink, Gordon&Breach
     -  ผู้ให้บริการที่เป็นผู้จำหน่ายฐานข้อมูล Dialog, Dissertation Abstract Online-DAO
     -  ผู้ให้บริการที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ (Information broker)  Infotrieve
การดำเนินการ
-  การใช้แบบฟอร์ม DD หรือกระดาษอัตโนมัติ
-  การให้บริการแบบออนไลน์ หรือการขอสมัครเป็นสมาชิก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น