วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืมระหว่างห้องสมุด

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (24/06/2011)


เรื่อง : บริการยืมระหว่างห้องสมุด
บริการยืมระหว่างห้องสมุด/สถาบัน ( Inter Library Loan ) คือ บริการที่สถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศร่วมมือกันในการให้บริการขอใช้วัสดุห้องสมุดภายในสถาบันหรือสถาบันบริการสารสนเทศแห่งอื่นๆ โดยมีข้อตกลงร่วมกัน
- การยืมระหว่างสถาบันสาขากับสถาบันศูนย์กลาง
- การยืมระหว่างสถาบันในประเทศ
- การยืมระหว่างสถาบันที่อยู่ต่างประเทศโดยการสมัครเป็นสมาชิก
ฝ่ายบริการห้องสมุดจะต้องคำนึงว่าการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดเป็นบริการหลัก
1. การขอยืม ( Borrowing ) กล่าวคือ สถาบันสารสนเทศหรือห้องสมุดที่ขาดความพร้อมทางด้านการมีทรัพยากรสารสนเทศก็สามารถยืมทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดอื่นที่มีความพร้อมด้านทรัพยากรได้ เป็นการช่วยเหลือกันทางด้านการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ
2. การให้ยืม ( Lending ) กล่าวคือ สถาบันสารสนเทศหรือห้องสมุดที่มีความพร้อมทางด้านการมีทรัพยากรสารสนเทศที่ครบครัน มีความพร้อมทางด้านการให้บริการ ก็สามารถให้สถาบันหรือห้องสมุดอื่นที่ขาดความพร้อมทางด้านทรัพยากรสารสนเทศยืมได้ เป็นการสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดระหว่างกัน

บริการยืมระหว่างห้องสมุด

ความคาดหวังของผู้ใช้ (User Expectation)
1. ห้องสมุดให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ เป็นบริการที่ห้องสมุดจะต้องจัดเตรียมให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการห้องสมุด และต้องให้บริการสารสนเทศที่ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
2. มีความสะดวกในการเข้าถึงสารสนเทศ กล่าวคือ ห้องสมุดจะต้องเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ทุกประเภท ทุกรูปแบบซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งห้องสมุดจะต้องจัดเตรียมวิถีทางเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็วและตรงต่อความต้องการของผู้ใช้มากที่สุดเพราะเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ควาดหวังในการเข้ามมาใช้บริการที่ห้องสมุด
3. ได้สารสนเทศที่ต้องการอย่างเหมาะสม กล่าวคือ เมื่อผู้ใช้ได้สารสนเทศที่ต้องต่อความต้องการของผู้ใช้ไป ก็จะทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจในการให้บริการของห้องสมุดและจะช่วยทำให้มีการบอกต่อ ซึ่งจะทำให้มีผู้เข้ามาใช้บริการในห้องสมุดเพื่อมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพหรือศักยภาพรวมทั้งคุณภาพที่ห้องสมุดได้ให้บริการแก่ผู้ใช้
4. มีความน่าเชื่อถือ เป็นความคาดหวังของผู้ใช้ในเรื่องความน่าเชื่อถือของการได้มาซึ่งสารสนเทศ หากสารสนเทศที่ห้องสมุดให้บริการแก่ผู้ใช้นั้นมีความน่าเชื่อถือก้ย่อมส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีของห้องสมุด
5. ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้ กล่าวคือ การเข้าใช้บริการห้องสมุดแต่ละครั้งนั้นหากไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่างๆย่อมทำให้ผู้ใช้รู้สึกดีและอยากเข้ามาใช้บริการในห้องสมุดอีก เพราะนอกจากจะได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการแล้วยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอีกด้วย
6. สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ กล่าวคือ การที่ห้องสมุดได้สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างตรงตามความต้องการของผู้ใช้มากที่สุดนั้น ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของห้องสมุดในการให้บริการแก่ผู้ใช้

ปรัชญาของการบริการ ILL
- ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถจัดหาทรัพยากรที่สามารถสนองตอบความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้ได้ทั้งหมด เนื่องมาจากสารสนเทศบนโลกใบนี้มีอยู่เป็นจำนวนมากและกระจัดกระจายกันอยู่อย่างหลากหลายซึ่งในการค้นหาแต่ละครั้งอาจจะไม่พบหรือค้นหาได้ค่อนข้างยาก อีกทั้งความต้องการสารสนเทศของผู้ใช้แต่ละคนนั้นย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งบรรณารักษ์ก็ต้องสามารถให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ได้อย่างตรงกับความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุดถึงแม้ว่าจะไม่ครบถ้วนก็ตาม โดยการแสวงหาความร่วมมือกับห้องสมุดอื่นซึ่งอาจจัดทำเป็นเครือข่ายห้องสมุดในการให้บริการแก่ผู้ใช้
-  ความร่วมมือเป็นพื้นฐานของการจัดบริการ ILL เพราะห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศจะต้องสารมารถให้การบริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้ได้อย่างตรงกับความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ จึงต้องมีการแสวงหาความร่วมมือกับห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศอื่นๆที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน โดยอาจจัดทำในรูปแบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้เป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้นและหลากหลาย อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนทรัพยากรสารสนเทศระหว่างห้องสมุดอีกด้วย

ความสำคัญของบริการ ILL
1. ขยายความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้
     -  ช่วยลดปัญหาการมีวัสดุห้องสมุดไม่เพียงพอ
     -  ช่วยลดช่องว่างระหว่างสถาบัน รวมถึงการสร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้ใช้
2. ช่วยลดข้อจำกัดด้านระยะทาง กล่าวคือ ห้องสมุดบางแห่งนั้นอาจจะอยู่ห่างไกลกันแต่เป็นห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศที่ครบครันหรือมีความพร้อมทา่งด้านการให้บริการ ซึ่งหากมีการร่วมมือกันเป็นเครือข่ายในการให้บริการสารสนเทศแล้วก็ช่วยลดข้อจำกัดทางด้านระยะทางได้เป็นอย่างดี
3. มีการใช้ทรพยากรสารสนเทศที่คุ้มค่าคุ้มทุน กล่าวคือ ในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาให้บริการผู้ใช้ในห้องสมุดนั้นจะต้องมีการสำรวจความต้องการใช้ทรัยากรของผู้ใช้ก่อนจึงจะจัดซื้อจัดหาได้ ซึ่งถ้าหากจัดให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้แล้วก้จะทำให้คุ้มทุนคุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมาให้บริการในห้องสมุด ทรัพยากรในห้องสมุดก็จะถูกยืมหรือเกิดการหมุนเวียนไปใช้อย่างสม่ำเสมอ
4. ช่วยประหยัดงบประมาณ หลีกเลี่ยงการซื้อซ้ำซ้อน กล่าวคือ หากมีการร่วมมือกันเป็นเครือข่ายเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนทรัยากรสารสนเทศกันนั้น ย่อมเป็นการลดการจัดซื้อจัดหาที่อาจเกิดความซ้ำซ้อนกันได้และยังเป็นการช่วยให้เกิดการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างหลากหลายประเภทอีกด้วย
5. ช่วยให้เข้าถึงสรสนเทศที่หายาก กล่าวคือ ในบางห้องสมุดอาจจะไม่มีทรัพยากรสารสนเทศที่หายากแต่เมื่อเิกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุดแล้วก็สามารถจะยืมสารสนเทศที่หายากจาห้องสมุดในเครือข่ายเดียวกันได้ ทำให้ประหยัดงบประมาณและประหยัดเวลาในการเข้าถึงสารสนเทศได้เป็นอย่างดี
6. สร้างความแข็งแรงในการจัดการ กล่าวคือ การร่วมมือกันระหว่างห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศนั้นย่อมทำให้สามารถมีระบบการจัดกาีรห้องสมุดในด้านการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศได้ดีกว่าการจัดทำเพียงลำพังของห้องสมุดเดียว ทำให้การจัดการในการให้บริการแก่ผู้ใช้ในด้านการเข้าถึงสารสนเทศเกิดความง่ายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
7. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการให้บริการ คือ หากห้องสมุดสามารถให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แล้ว และสารสนเทศที่ให้บริการนั้นมีความน่าเชื่อถือ อีกทั้งสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้วย่อมทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจและกลับมาใช้บริการห้องสมุดอีกเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับห้องสมุดเป็นอย่างมาก
 


เครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

องค์ประกอบการบริการยืมระหว่างห้องสมุด
1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ คือ เป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างห้องสมุดหลายๆห้องสมุด เพื่ออก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน หมุนเวียนระหว่างกัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างหลากหลาย และกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2. การสร้างข้อตกลงความร่วมมือระหว่างห้องสมุด คือ เมื่อได้มีการสร้างความร่วมมือหรือเครือข่ายของห้องสมุดแล้วจากนั้นจึงจะต้องมีการสร้างข้อตกลงในการร่วมมือกันระหว่างของห้องสมุดเพื่อเป็นกฎเกณฑ์หรือแบบปฎิบัติให้ห้องสมุดที่อยู่ในเครือข่ายได้ปฎบัติตาม
3. แบบฟอร์มการยืมระหว่างห้องสมุด คือ เป็นแบบฟอร์มในการใช้ติดต่อขอยืมทรัพยากรสารสนเทศระหว่างห้องสมุด เพื่อให้เกิดความง่ายและความเป็นแบบแผนเดียวกันในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ
4. การเป็นสมาชิกเครือข่ายระหว่างห้องสมุด คือ จะช่วยทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศของแต่ละห้องสมุดได้อย่างหลากหลาย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ถือเป็นการลดช่องว่างของระยะทางในการเข้าถึงสารสนเทศให้แคบลง
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ


ตัวอย่างบริการยืมระหว่างห้องสมุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น