วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ค่าปรับ (บริการยืม-คืน)

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (21/06/2011)


เรื่อง : ค่าปรับ
ค่าปรับ คือ การกำหนดจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้แก่บริการยืม-คืนภายในห้องสมุด เนื่องมาจากมีการยืมทรัพยากรสารสนเทศเกินวัน เวลา ที่ห้องสมุดได้กำหนดระยะเวลายืมไว้ เืพื่อเป็นการกระจายการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้แก่ผู้ใช้ห้องสมุด และเป็นการส่งเสริมการมีความรับผิดชอบของผู้ยืม อีกทั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้มีการส่งคืนหนังสือตามวันและเวลาที่กำหนด

บริการยืม - คืนในห้องสมุด

การกำหนดค่าปรับ มีลักษณะดังต่อไปนี้
- การกำหนดจำนวนค่าปรับแตกต่างกัน กล่าวคือ การกำหนดค่าปรับของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพยากรสารสนเทศนั้นๆว่าเป็นชนิดใด นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับจำนวนทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมไปนั้นว่ามีจำนวนกี่เล่ม และยืมเกินกำหนดกี่วัน
- ค่าปรับการยืมระยะสั้นจะสูงกว่ากำหนดยืมระยะยาว กล่าวคือ หนังสือแต่ละประเภทที่ห้องสมุดให้ยืมนั้นมีหลากหลายประเภทและมีความสำคัญหรือความนิยมใช้ในกลุ่มผู้ใช้แตกต่างกัน หากหนังสือที่ห้องสมุดให้ยืมในระยะเวลาที่สั้นและหากคืนเกินกำหนดระยะเวลายืมก็จะเสียค่าปรับสูงมากกว่าปกติ แสดงให้เห็นว่าหนังสือประเภทนั้นเป็นหนังสือที่ใหม่หรือเป็นหนังสือที่เป็นที่นิยมยืมของผู้ใช้เป็นอย่างมาก ซึ่งการกำหนดค่าปรับที่สูงกว่าปกติก็เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ยืมนำหนังสือมาคืนตามเวลาที่กำหนด เพื่อทำให้หนังสือนั้นได้หมุนเวียนให้แก่ผู้อื่นที่มายืมหนังสือในห้องสมุดได้ใช้บ้าง ส่วนหนังสือที่มีกำหนดยืมระยะยาว แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของหนังสือได้้ลดน้อยลงไปหรือเป็นหนังสือที่ไม่เป็นที่นิยมยืมในกลุ่มผู้ใช้ หรือเป็นหนังสือที่ค่อนข้างเก่าแล้วจึงไม่ค่อยมีผู้ยืมมาก การกำหนดค่าปรับจึงลดลงมากว่าหนังสือที่ใหม่และเป็นที่นิยมยืมของผู้ใช้
- ค่าปรับทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทในห้องสมุดนั้นมีหลากหลายประเภทด้วยกัน มีทั้งทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ โสตทัศนวัสดุ หรือทรัพยากรสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งค่าปรับของทรัพยากรสารสนเทศแต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกันออกไปตามชนิด ความสำคัญ ลักษณะของการนำมาใช้งาน และการซ่อมแซมบำรุงรักษาหากเกิดการชำรุดเสียหายในภายหลังจากนำหนังสือมาคืน
- ควรส่งเอกสารแจ้งเตือนวันส่ง กล่าวคือ เป็นสิ่งที่ห้องสมุดควรจะทำเพื่อเป็นการแจ้งเตือนวันส่งคืนหนังสือให้แก่ผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถคืนหนังสือได้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งบางห้องสมุดได้มีการจัดทำระบบแจ้งเตือนวันส่งหนังสืออัตโนมัติให้แก่ผู้ใช้ทราบ

การเสียค่าปรับหนังสือของห้องสมุด

การจัดการปัญหาในการปรับ
- มีการยกเว้น กล่าวคือ ในกรณีที่เกิดการเข้าใจผิดระหว่างบรรณารักษ์กับผู้ใช้หรือมีการกำหนดวันที่ในการคืนผิดพลาดจากความเป็นจริงแล้ว ซึ่งเป็นความผิดมาจากตัวบรรณารักษ์เอง ก็ต้องมีการยกเว้นการเสียค่าปรับให่แก่ผู้ใช้
- มีการผ่อนผัน กล่าวคือ กำหนดให้มีการปรับหรือเรียกเก็บค่าปรับให้น้อยที่สุดเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีหนังสือหมุนเวียนให้ผู้ใช้คนอื่นมี่มายืมหนังสือได้ใช้บ้าง 
- หากไม่มีการคืนและไม่จ่ายค่าปรับ สิทธิการใช้ห้องสมุดจะถูกระงับ เช่น การยกเลิกความเป็นสมาชิกของห้องสมุดนั้นๆ
- ในบางห้องสมุดอาจมีการใช้บริการติดตามจากบริษัทที่มีบริการติดตาม ซึ่่งถือได้ว่ามีจำนวนน้อยมากที่มีบริการติดตามจากบริษัท
- ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะทำเรื่องระงับการออก transcripts หรือระงับการอนุมัติสำเร็จการศึกษา เนื่องมาจากการค้างชำระค่าปรับการยืมหนังสือจาห้องสมุด
- หลังจาก grace period ควรกำหนดค่าปรับตามจำนวนที่ได้กำหนดไว้โดยไม่นับตามความเป็นจริงซึ่งถือเป็นการสร้างความรับผิดชอบให้แก่ผู้ใช้เพื่อนำหนังสือที่ยืมไปมาคืน และเพื่อให้สารสนเทศเผยแพร่เข้าถึงผู้ใช้ได้เป็นจำนวนมาก และที่สำคัญไม่ควรค้ากำไรจากค่าปรับหนังสือในห้องสมุดเพราะการเสียค่าปรับเป็นการบั่นทอนความรู้่สึกของผู้ใช้แทนการส่งเสริมให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการยืมหนังสือในห้องสมุด
- มีการติดประกาศแจ้งข้อความร่วมมือให้กับผู้ใช้ เป็นการแสวงหาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดและผู้ใช้ เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ใช้และห้องสมุดในเรื่องของรายละเอียดต่างที่ห้องสมุดได้กำหนดไว้ในการบริการผู้ใช้
- มีการแจ้งเตือนเป็นระยะก่อนดำเนินการใดๆที่จะระงับสิทธิ กล่าวคือ ห้องสมุดจะต้องมีการแจ้งเตือนผู้ใช้เป็นระยะๆก่อนที่จะทำการระงับสิทธิใดๆที่ผู้ใช้มีต่อห้องสมุด เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงการจะระงับสิทธินั้นและผู้ใช้จะได้กระทำการรักษาสิทธิของตนเองก่อนที่จะเสียไป

การจ่ายค่าปรับ มีวิธีการจ่ายและสถานที่จ่ายค่าปรับดังต่อไปนี้
- จ่ายที่บริการยืม-คืน
- จ่ายผ่านระบบจ่ายเงินอัตโนมัติ
- เปิดให้มีโอกาสการผ่อนผันการต่อรองระหว่างผู้ยืมและเจ้าหน้าที่
- สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัย ค่าปรับจะต้องนำส่งมหาวิทยาลัยเนื่องจากเป็นเงินรายได้ แต่ห้องสมุดสามารถทำโครงการขอใช้งบประมาณจากเงินค่าปรับได้
   การยืมหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศประเภทอื่นๆในห้องสมุดได้เป็นจำนวนมาก หรือมีผู้เข้ามาใช้บริการห้องสมุดเป็นจำนวนมากนั้น เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของห้องสมุดได้มากกว่าการได้เงินรายได้จากการเสียค่าปรับของผู้ใช้ ซึ่งการเสียค่าปรับในจำนวนที่สูงนั้นหรือการเสียค่าปรับทุกครั้งที่ยืมย่อมสร้างความไม่พอใจต่อผู้ใช้อย่างมากและเป็นการบั่นทอนความรู้สึกของผู้ใช้ต่อบริการของห้องสมุดและการจะทำให้ผู้ใช้กลับมารู้สึกดีต่อห้องสมุดเช่นเดิมอาจต้องใช้เวลานาน ซึงอาจทำให้เสียกลุ่มผู้เข้ามาใช้บริการห้องสมุดไปได้

การจ่ายหรือต่อรองค่าปรับระหว่างบรรณารักษ์และผู้ยืม

ค่าสมาชิก/ค่าธรรมเนียม
- ใช้สำหรับหนังสือชำรุดเสียหาย
- ห้องสมุดต้องมีนโยบายในการกำหนดค่าธรรมเนียมในการซ่อมแซมหนังสือ และต้องแจงรายละเอียดให้แก่ผู้ใช้ทราบถึงราคาค่าธรรมเนียมที่แท้จริง เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้
- หากหนังสือหายากหาย จำเป็นที่จะต้องมีการเก็บค่าปรับในจำนวนที่สูงกว่าปกติเพราะการจัดซื้อจัดหาหนังสือหายากมาให้บริการแก่ผู้ใช้ั้นั้นย่อมเป็นเรื่องยาก เพราะหนังสือหายากบางประเภทหรือบางเรื่องนั้นอาจจะหาซื้อยากในท้องตลาดหรือไม่มีการจัดพิมพ์หนังสือประเภทนี้อีก หรืออาจมีจำนวนจำกัดเพราะจัดทำเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ การจะหาหนังสือประเภทอื่นมาทดแทนหนังสือหายากจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง

จริยธรรมในการบริการ
   บรรณารักษ์ต้องป้องกันสิทธิของผู้ใช้ในการยืมหนังสือ และให้ผู้ใช้สามารถยืมหรือครอบครองหนังสือได้ครบถ้วนกันทุกคนหรือสามารถทำให้มีหนังสือหมุนเวียนให้บริการแก่ผู้ใช้ที่เข้ามาในห้องสมุดได้ อีกทั้งสามารถทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจในการให้บริการของบรรณารักษ์ เพื่อที่จะได้กลับมาใช้บริการห้องสมุดอีกในครั้งต่อไป

บรรณารักษ์ในห้องสมุด

การจัดชั้นหนังสือ
- เป็นหน้าที่ของบริการยืม-คืน ที่ต้องจัดการเกี่ยวกับชั้นหนังสือ หรือเรียงหนังสือบนชั้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและค้นหาทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
- สร้างความคิดการมีส่วนร่วมให้แก่ผู้ใช้ห้องสมุด : เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถได้ทำกิจกรรมร่วมกับห้องสมุดหรือให้ผู้ใช้มีส่วนช่วยให้มีการเข้ามาใช้บริการห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น เช่น ผู้ใช้มีการบอกต่อให้ผู้อื่นเข้ามาร่วมใช้บริการห้องสมุด
- บรรณารักษ์สามารถแสวงหาความร่วมมือจากผู้ใช้ได้ : บรรณารักษ์จะต้องสามารถสร้างกลยุทธ์ต่างๆหรือกำหนดนโยบายของห้องสมุดโดยมีวัตถุปรสงค์ให้ผู้ใช้ได้มีส่วนร่วมในการใช้บริการห้องสมุดเช่น กำหนดนโยบายให้ผู้ใช้ปฎิบัติตามกฎการยืม-คืนหนังสือของห้องสมุด เป็นต้น
- บรรณารักษ์ต้องสามารถจัดหนังสือให้อยู่บนชั้นได้ตลอดเวลา : เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
- มีการกำหนดทุกเดือนบรรณารักษ์ต้องมาตรวจสอบและติดตามหนังสือบนชั้น ว่ามีหนังสือครบหรือไม่ หายไปหรือไม่อยู่บนชั้นหรือไม่ และผู้ใช้สามารถตรวจสอบหนังสือบนชั้นได้ด้วยตนเองได้
- ต้องสำรวจหนังสือยอดนิยมหรือหนังสือใหม่ที่มีความน่าสนใจ โดยนำมาจัดเรียงขึ้นบนชั้นหนังสือเพื่อให้ผู้ใช้มองเห็นได้ง่ายและสามารถค้นหาได้ง่ายสำหรับผู้ใช้
- ตรวจสอบสถิติหนังสืออยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบหนังสือที่ตนต้องการยืมว่ายังมีให้บริการอยู่บนชั้นหนังสือหรือไม่ เพื่อช่วยในการหาหนังสือให้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

การจัดชั้นหนังสือภายในห้องสมุด
การจัดชันหนังสือและมุมนั่งอ่านหนังสือให้แก่ผู้อ่าน

การดูแลรักษาหนังสือ
1.) การที่บรรณารักษ์ดูแลรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพที่ดีนั้น จะทำให้หนังสือมีความคงทนและอยู่ได้นาน ซึ่งเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดซื้อจัดหาหนังสือใหม่หรือการซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด
2.) บรรณารักษ์ควรจะจัดอบรม หรือแนะนำการดูแลรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพดี ให้แก่ผู้ใช้ห้องสมุดหรือผู้ที่เข้ามายืมหนังสือในห้องสมุด อีกทั้งควรสาธิตการดูแลรักษาหนังสือให้แก่ผู้ใช้ดูเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ใช้ใช้หนังสืออย่างระมัดระวังและถูกวิธีมากยิ่งขึ้นเพื่อยืดอายุการใช้งานของหนังสือในห้องสมุด
3.) จัดทำคู่มือปฏิบัติและแจ้งรายละเอียดการใช้หนังสือให้ผู้ใช้ทราบ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้ดูแลรักษาหนังสือให้อยู่ในสภาพดีทุกครั้งที่มีการยืมหนังสืออกไปจากห้องสมุด

การดูแลรักษาหนังสือของบรรณารักษ์ยืม - คืน
  
หนังสือที่ควรดูแลรักษาเพื่อให้มีสภาพการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น