วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บริการยืม-คืน

สรุปกระบวนวิชา 009355 : บริการห้องสมุดและบริการสารสนเทศ (17/06/2011)


เรื่อง : บริการยืม-คืน
บริการยืม - คืน :  คือ บริการให้ยืม - คืนทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ บริการให้ยืมหนังสือและสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งสื่อการศึกษาของห้องสมุดยกเว้นหนังสืออ้างอิง วารสารเย็บเล่ม หนังสือพิมพ์ วารสารใหม่เพื่อให้ความสะดวกในการใช้ทรัพยากรภายในห้องสมุ
เป้าหมายหลัก คือ
- เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ
- สามารถนำไปศึกษาค้นคว้านอกสถาบันได้

บทบาทหน้าที่ของบริการยืมคืน
1.การควบคุมงานบริการยืม-คืน กล่าวคือ นับเป็นบริการที่ห้องสมุดสมัยใหม่จะต้องมี เนื่องมาจากเป้าหมายหลักของห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศ คือ ให้ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว พร้อมทั้งตรงตามความต้องการของผู้ใช้
2. ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด กล่าวคือ งานบริการยืม-คืนเป็นบริการจุดแรกที่ผู้ใช้จะมองเห็นและเข้ามาติดต่อใช้บริการเป็นอย่างมากในห้องสมุด การประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ห้องสมุดทราบถึงข้อมูลการใช้ห้องสมุด หรือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศต่างๆให้แก่ผู้ใช้ได้ทราบอยู่ตลอดเวลา ก็จะทำให้ผู้ใช้เกิดความประทับใจจากการให้ความช่วยเหลือและบริการที่ได้รับ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทัศนคติของผู้ใช้ บริการการนี้จึงอาจเป็นสิ่งตัดสินคุณภาพการบริการห้องสมุด

การจัดการ
1. ห้องสมุดขนาดเล็ก (Small Libraries) : หน้าที่บรรณารักษ์ คือ ต้องจัดการและทำหน้าที่ทุกอย่างภายในห้องสมุดนั้นๆ เช่น การกำหนดนโยบายของห้องสมุด การกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน แนะนำขอบข่ายของการทำงานให้แก่ผู้ร่วมงานในห้องสมุด และบรรณารักษ์ยืม-คืน จะต้องสามารถตอบคำถามได้หากมีผู้ใช้บริการมาถาม
2. ห้องสมุดขนาดกลาง (Larger Libraries) : การจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงานของบรรณารักษ์คือ จะต้องมีหัวหน้าบรรณารักษ์ คอยทำหน้าที่ควบคุมดูแลบรรณารักษ์ภายในห้องสมุด ผู้ช่วยบรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่ห้องสมุดและมีหน้าที่แบ่งงานต่างๆให้บรรณารักษ์คนอื่นทราบ เนื่องจากขนาดของห้องสมุดนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นจึงทำให้ต้องมีบรรณารักษ์หลายคนคอยช่วยกันดำเนินงานหรือบริการต่างๆภายในห้องสมุด และที่สำคัญจะต้องมีหัวหน้าบรรณารักษ์คอยควบคุมดูแลด้วย
3. ห้องสมุดขนาดใหญ่ (Very Large Libraries)  : เนื่องจากขนาดของห้องสมุดนั้นมีขนาดที่ใหญ่มาก และจำนวนผู้ใช้บริการห้องสมุดนั้นก็มีเพิ่มขึ้นตามขนาดของห้องสมุดไปด้วย จึงทำให้ห้องสมุดจำเป็นต้องมีหัวหน้างานหรือหัวหน้าหน่วยงานของห้องสมุดเป็นผุ้ดูแลและควบคุม อีกทั้งการแบ่งหน้าที่งานในแผนกต่างๆให้บรรณารักษ์ในห้องสมุดทำร่วมกัน

ความรู้และทักษะที่ต้องการของบรรณารักษ์ยืม-คืน
- มีใจรักในงานบริการและมีความอดทน กล่าวคือ บรรณารักษ์จะต้องเป็นผู้ที่มีใจรักในงานที่ให้บริการผู้อื่นเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงจะสามารถทำให้ทำงานได้อย่างราบรื่น และที่สำคัญต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อหน้าที่ในการทำงานหรือการกระทบกระทั่งทางความรู้สึกกับผู้ใช้บริการห้องสมุด
- มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้บริการ กล่าวคือ ต้องสามารถอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพยากรสารสนเทศและสามารถแนะนำทรัพยากร รวมทั้งตอบคำถามจากผู้ใช้บริการได้
- มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูล OPAC กล่าวคือ บรรณารักษ์ยืม-คืนควรจะต้องมีทักษะและความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการสืบค้นข้อมูลหรือใช้ในการให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทสได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น
- มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า กล่าวคือ หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าหรือเกิดปัญหาเกี่ยวกับผู้ใช้ห้องสมุด บรรณารักษ์สามารถแก้ปัญหาหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธภาพและเหมาะสม
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี กล่าวคือ บรรณารักษ์ยืม-คืนจะต้องมีบุคลิกภาพที่ดี หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ดูเป็นมิตรกับผู้ใช้ห้องสมุด ใช้คำพุด-อย่างสุภาพ แต่งกายเรียบร้อย เพื่อให้ดูมีความน่าเชื่อถือและเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บรรณารักษ์ได้

งานที่เกี่ยวข้องกับบริการยืม-คืน
1. การยืมและการคืน แบ่งออกเป็นดังต่อไปนี้ 
    - บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ
    - กำนดระยะเวลาในการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ
    - บริการจับจองสิ่งพิมพ์
    - บริการหนังสือสำรอง
    - บริการตรวจสอบหนังสือ เมื่อผู้ใช้หาตัวเล่มจากชั้นไม่พบ
    - การกำหนดอัตราค่าปรับสิ่งพิมพ์เกินกำนดส่ง/เสียหาย และการออกใบเสร็จ
    - บริการตอบคำถามชี้แนะสารสนเทศแก่ผู้ใช้ภายในห้องสมุด 
    - บริการยืมระหว่างห้องสมุด(ภายใน) และการจัดส่งเอกสาร
    - บริการล็อคเกอร์รับฝากสิ่งของ ตรวจกระเป๋า และสิ่งของที่ผู้ใช้บริการนำติดตัวก่อนออกจากห้องสมุด 
2. การจัดเก็บทะเบียนผู้ใช้ : มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อจำแนกว่าใครบ้างที่มีสิทธิ์ยืมทรัพยากรหรือมีสิทธิ์ใช้บริการห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศ อีกทั้งการทราบข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ จะช่วยให้เกิดความสะดวกในการติดต่อผู้ใช้ และห้องสมุดหรือสถาบันสารสนเทศจำเป็นต้องทราบกลุ่มเป้าหมายและลักษณะกลุ่มเป้าหมายที่จะให้บริการ
3. ระบบงานยืมอัตโนมัติ : เป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้งานยืม-คืนสามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาระบบห้องสมุดให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับยุคเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
     - เทคโนโลยีรหัสแถบ (Barcode
       คือ เทคโนโลยีบาร์โค้ดซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ อาทิ ด้านการค้า หรือบริการยืมคืนหนังสือในห้องสมุด โดยนำบาร์โค้ดมาติดกับหนังสือ เพื่อใช้ในการจัดเก็บชื่อ รหัส และรายละเอียดของหนังสือแต่ละเล่ม หรือทางด้านการจัดหมวดหมู่ของหนังสือ ช่วยในการตรวจสอบจำนวนหนังสือที่ถูกยืมจากผู้ใช้และการคืนหนังสือในแต่ละครั้งได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ทั้งนี้การนำบาร์โค้ดมาใช้อย่างแพร่หลายแะเป็นที่นิยมกันมาก แต่ คุณสมบัติที่มีอยู่ของบาร์โค้ดแบบ 1 มิตินั้น ยังไม่เป็นที่รองรับความต้องการของผู้ใช้งานได้มากเท่าที่ควรและมีข้อจำกัดมากในการใช้งาน เช่น การบรรจุข้อมูลได้น้อย และการใช้ฐานข้อมูลในการจัดเก็บ เป็นต้น ดังนั้นจึงทำให้มีการพัฒนาบาร์โค้ด 2 มิติขึ้นมา
การติดแถบ BarCode ไว้ที่หนังสือ     
 ตู้บริการยืม-คืนอัตโนมัติ
     - คิวอาร์โค๊ด (QR Code,2D Barcode)
        คือบาร์โค้ด 2 มิติเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาเพิ่มเติมจากบาร์โค้ด 1 มิติ โดยออกแบบให้บรรจุได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ทำให้สามารถบรรจุข้อมูลได้มาก ข้อมูลที่บรรจุสามารถใช้ภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษได้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น จีน หรือเกาหลี เป็นต้นและบาร์โค้ด 2 มิติสามารถถอดรหัสได้แม้ภาพบาร์โค้ดบางส่วนมีการเสียหาย อุปกรณ์ที่ใช้อ่านและถอดรหัสบาร์โค้ด 2 มิติมีตั้งแต่เครื่องอ่านแบบซีซีดีหรือเครื่องอ่านแบบเลเซอร์เหมือนกับของบาร์โค้ด 1 มิติจนถึงโทรศัพท์มือถือแบบมีกล้องถ่ายรูปในตัวซึ่งติดตั้งโปรแกรมถอดรหัสไว้ ในส่วนลักษณะของบาร์โค้ด 2 มิติมีอยู่อย่างมากมายตามชนิดของบาร์โค้ด เช่น วงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอย่างบาร์โค้ด 2 มิติ ได้แก่ PD417, MaxiCode, Data Matrix,และ QR code เป็นต้น
         ในปัจจุบันได้มีการนำ OR Code มาประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือ (CIP) และอำนวยความสะดวกให้กับห้องสมุดในการบริการยืม-คืน ทรัพยากรสารสนเทศ อีกทั้งยังช่วยเก็บข้อมูลการยืม-คืนหนังสือในห้องสมุด ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดเวลาในการทำรายการหนังสือในห้องสมุดต่างๆได้เป็นอย่างดี

การติดแถบ OR Code กับหนังสือ
     - เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency Identify - RFID)
       คือ เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี(RFID) ถึงแม้ว่าจะมีหลักการทำงานคล้ายกับบาร์โค้ด แต่มีศักยภาพที่สูงกว่าคือสามารถอ่านข้อมูล บันทึกแก้ไขข้อมูลเพิ่มเติมได้ในภายหลัง และส่งข้อมูลด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ด้วยศักยภาพเหล่านี้ทำให้ห้องสมุดหลายแห่งนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาใช้กับการยืม-คืน แต่ประเด็นหลักของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีคือตัวป้ายอาร์เอฟไอดีมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงร่วมกับโปรแกรมระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมกันพัฒนา 2D Barcode เพื่อรองรับการยืม-คืนหนังสือ ทดแทนการใช้อาร์เอฟไอดี ที่มีราคาแพง
บริการยืม-คืนหนังสือด้วยตนเองด้วยเทคโนโลยี RFID

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น